ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาลไทย มีการประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างไทยและอินเดีย โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย และนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) รวม 6 ฉบับ ที่ครอบคลุมทุกมิติของความร่วมมือ ตั้งแต่เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาวิสาหกิจ ไปจนถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ไฮไลต์สำคัญ คือการลงนามใน "Joint Declaration on the Establishment of Thailand–India Strategic Partnership" หรือ ปฏิญญาร่วมว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของความสัมพันธ์ไทย–อินเดีย ที่จะไม่เพียงแค่ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงความมั่นคง เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ส่อง 6 ความร่วมมือเด่นไทย–อินเดีย

  1. ประกาศความเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ระหว่างไทย-อินเดีย: วางรากฐานความร่วมมือระยะยาว ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค
  2. ขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกัน: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย จับมือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศอินเดีย เร่งเครื่องการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ตั้งเป้าสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและส่งเสริมนวัตกรรมร่วมกัน
  3. พัฒนาโครงการศูนย์มรดกทางทะเลระดับโลกที่รัฐคุชราต: กรมศิลปากรไทยร่วมมือกับกระทรวงท่าเรืออินเดีย สร้าง National Maritime Heritage Complex (NMHC) ณ เมืองโลธาล ชู Soft Power ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชิงทะเล
  4. เชื่อมต่อ SME ไทย-อินเดีย: การจับมือกันของ NSIC อินเดีย และ สสว. ไทย มุ่งผลักดันผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SMEs) เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค พร้อมแชร์องค์ความรู้และโอกาสการค้า
  5. ยกระดับหัตถกรรมและชุมชนช่างฝีมือ: ส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือด้านงานฝีมือระหว่างกระทรวงต่างประเทศไทย และกระทรวงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
  6. จับมือส่งออก Soft Power ผ่านงานหัตถกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: NEHHDC อินเดีย และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ไทย เตรียมลุยโครงการพัฒนาหัตถกรรมร่วม พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่เวทีโลก

“หุ้นส่วนยุทธศาสตร์” ในจังหวะที่โลกกำลังปรับสมดุลใหม่ สหรัฐฯ กดดันด้วยกำแพงภาษี

การพบปะระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยและอินเดียที่กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานนี้ ไม่ใช่แค่การทูตเชิงสัญลักษณ์ทั่วไป แต่คือการขยับระดับความสัมพันธ์สู่ Strategic Partnership หรือ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์” อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมลงนามความร่วมมือในหลากหลายมิติ ทั้งเทคโนโลยี การค้า การศึกษา วัฒนธรรม และความมั่นคง

ขณะที่ฝั่งโลกการค้ากำลังเผชิญแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่จากนโยบายภาษีใหม่ของสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้ Reciprocal Tariff ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้ทางการค้า โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ในอัตราที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับที่ประเทศเหล่านั้นเก็บกับสินค้าสหรัฐฯ กลายเป็น “กำแพงภาษี” ที่ใช้กดดันเชิงกลยุทธ์ต่อพันธมิตรทางการค้า

ในรายชื่อประเทศที่ถูกระบุว่าเป็น "Worst Offenders" ไทยถูกตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูงถึง 36% และขยับขึ้นเป็น 37% ภายหลัง ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในอาเซียน และอยู่ในกลุ่มเดียวกับกัมพูชา (49%) และเมียนมา (44%) สะท้อนแรงกดดันที่อาจกระทบหนักกับผู้ส่งออกไทยโดยตรง

หรือนี่คือ ‘เกมรุกภูมิรัฐศาสตร์’ รับมือแรงกระเพื่อมจากสหรัฐฯ ?

ท่ามกลางแรงกดดันจากฝั่งตะวันตก ความร่วมมือระหว่างไทยและอินเดียจึงอาจมองได้ว่าเป็นการ “ขยับหมากภูมิรัฐศาสตร์” ไม่ใช่แค่ในมิติทางวัฒนธรรม เช่น การร่วมกันพัฒนาเส้นทางแสวงบุญ Buddhist Circuit หรือการท่องเที่ยว (เช่น Free Visa สำหรับคนไทยเข้าอินเดีย) แต่คือการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาสมดุลในภูมิภาคให้มั่นคง

อีกหนึ่งหมากสำคัญคือการเร่งขยายและปรับปรุงข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งในระดับทวิภาคี (ไทย-อินเดีย) และพหุภาคี (อาเซียน-อินเดีย) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ อินเดียถือเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าการค้ารวมกว่า 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

ในมิติของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ความร่วมมือก็เดินหน้าเต็มรูปแบบ ไทยและอินเดียเตรียมขยายเส้นทาง Buddhist Circuit ไปยังรัฐสำคัญอย่างคุชราต เชื่อมโยงกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในไทยและประเทศอื่นในบิมสเทค พร้อมแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่า และการเปิดเส้นทางบินใหม่

ฝั่งอินเดียเองเดินเกมเชิงรุกไม่แพ้กัน ด้วยการประกาศ Free Visa สำหรับนักท่องเที่ยวไทย ซึ่งไม่เพียงกระตุ้นการเดินทาง แต่ยังขยายโอกาสด้านการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนั้น ผู้นำทั้งสองประเทศยังแสดงจุดยืนร่วมกันในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้งใน BIMSTEC, ASEAN, BRICS ไปจนถึง OECD โดยไทยพร้อมรับบท “สะพานเชื่อม” ระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมผลักดันเสถียรภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกให้เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้าง ครอบคลุม และยึดมั่นในกติกาสากล

อ้างอิง: thaigov

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...