ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 25688 เป็นอย่างมาก

KResearch มองว่า กำแพงภาษี 37% ที่ไทยถูกเรียกเก้บ เป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ต้องการเดินเกมเจรจา แต่อย่างไรก็ตาม เวลาในการเจรจาค่อนข้างกระชั้นชิด เนื่องจากภาษีจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน 2568 ทำให้ไทยต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบ

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ประเมินว่า ผลประทบจากมาตรการภาษีนี้จะทำให้ GDP ไทยปี 2568 ขยายตัวลดลงเหลือเพียง 1.4% จากประมาณการเดิมที่ 2.4% คิดเป็นผลกระทบราว 1% ของ GDP ขณะที่การส่งออกทั้งปีคาดว่าจะหดตัว -0.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.5% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขประเมินนี้ยังไม่ได้นับรวมผลลัพธ์ที่เป็นไปได้จากการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทย และสหรัฐฯ

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า อัตราภาษี 37% จะสร้างความเสียหายต่อมูลค่าการส่งออกไทยราว 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทในปี 2568 โดยแบ่งเป็นผลกระทบทางตรงราว 67% (เช่น การส่งออกไปสหรัฐฯ จะลดลง) และผลกระทบทางอ้อม 33% (เช่น การส่งออกไปยังประเทศใน supply chain ที่ลดลง หรือการแข่งขันที่สูงขึ้นจากสินค้าจีนในตลาดอื่น)

สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักทั้งทางตรง และทางอ้อม ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ยานยนต์และชิ้นส่วน, สินค้าเกษตรและอาหาร (เช่น ยางล้อ ข้าว ปลา กุ้ง อาหารสัตว์เลี้ยง) ซึ่งกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นกลุ่มที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ สูงเป็นพิเศษ

ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ของไทย พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ มาก โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไทยมีการส่งออกไปสหรัฐฯ มากกว่าจีน ญี่ปุ่น หรือ EU ซึ่งสินค้าที่ไทยส่งออกมากได้แก่ เครื่องประมวลผลขข้อมูลอัตโนมัติ, โทรศัพท์, หม้อแปลงไฟฟ้า, เซมิคอนดักเตอร์, เครื่องพิมพ์, แผงวงจร/คอนโซล, เครื่องจักร และเครื่องส่งกำลัง

KResearch มองว่าสถานการณ์ภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับผลการเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ โดยแนะให้ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือ โดยควรหาจุดแข็งให้กับผลิตภัณฑ์ และบริการ เพิ่ม Productivity ปรับในเชิงของกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่แข่งจันได้ พร้อมกับกระจายตลาดส่งออก หรือมองหาแหล่ง sourcing ไปยังตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง หรือตลาดเกิดใหม่ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จาก FTA

ส่วนในฝั่งภาครัฐ อาจจำเป็นต้องมีผ่อนคลายนโยบายที่เกี่ยวกับการเงินการคลัง พร้อมกับเน้นไปที่การปรับนโยบายการค้า และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...

Responsive image

USPACE ไต้หวัน หนุน JORDSABUY พัฒนาเทคโนโลยีที่จอดรถในไทยและอาเซียน

JORDSABUY (จอดสบาย) สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการจองและแชร์ที่จอดรถในประเทศไทย ดึงทุนไต้หวันร่วมขยายธุรกิจ พร้อมแรงหนุนจาก depa...