ตลอดเส้นทางอาชีพของคุณ Pui Yan, Partner จาก Vertex Ventures SEA and India มีประสบการณ์ทำงานในหลายบทบาททั้งที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมจนไปถึงบทบาททางธุรกิจและการลงทุน ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่โลกของการลงเป็น Venture Capitalist (VC)อย่างเต็มตัว แม้ว่าขอบเขตงานจะหลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการทำงานมาโดยตลอดก็คือ โมเดลทางการเงิน (Financial Model)
“เมื่อตอนเริ่มทำงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเป็นครั้งแรก การทำโมเดลทางการเงินเป็นทักษะใหม่ที่ฉันต้องเรียนรู้ ฉันก็เต็มใจที่จะเรียนรู้มันอย่างกระตือรือร้น หลังจากที่ฉันพอจะเข้าใจมันบ้างแล้ว มันก็กลายเป็นงานที่ต้องทำไปตามหน้าที่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันได้สร้างโมเดลมากมาย และในขณะเดียวกันก็สงสัยอยู่เสมอว่ามันให้คุณค่าและมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด”
“ปัจจุบัน ในฐานะนักลงทุน VC ที่มุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทระยะเริ่มต้น เราวิเคราะห์โมเดลทางการเงินของสตาร์ทอัพและทำงานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อปรับปรุงและเสริมสร้างโมเดลเหล่านั้น ทำให้ฉันมีมุมมองใหม่เกี่ยวกับ "ศาสตร์และศิลป์" ของการทำโมเดลทางการเงิน แม้ว่าบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นจะยังไม่มีประวัติที่ยาวนาน แต่โมเดลทางการเงินสามารถเป็นได้มากกว่าการเป็นเครื่องมือวางงบประมาณและติดตามผลการดำเนินงาน”
ในฐานะนักลงทุน VC เรามองหาโอกาสในการลงทุนที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ แต่ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบธุรกิจ (Due Diligence) เราพยายามทำความเข้าใจวิสัยทัศน์และความทะเยอทะยานของผู้ก่อตั้ง ว่าพวกเขามุ่งหวังที่จะสร้างบริษัทในรูปแบบใด
นอกจากการเข้าใจว่าเป้าหมายปลายทางของผู้ก่อตั้งคืออะไร เรายังพยายามทำความเข้าใจกลยุทธ์หลักที่พวกเขาจะใช้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านั้น เช่น
ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดสำหรับคำถามเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้ประกอบการเป็นเส้นทางที่ยาวไกล ผู้ก่อตั้งต้องมีแรงขับเคลื่อนเพื่อเดินตามความฝันของพวกเขาเสมอ การเข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนพวกเขาช่วยให้นักลงทุนอย่างเราสามารถมองเห็นความทะเยอทะยานของพวกเขาผ่านมุมมองของพวกเขาเอง และการเข้าใจกลยุทธ์และแนวคิดของพวกเขาช่วยให้เราสามารถประเมินโอกาสการลงทุนได้อย่างรอบด้านมากขึ้น
“วิสัยทัศน์ที่ปราศจากการลงมือทำ จะเป็นได้เพียงความฝัน”
โมเดลทางการเงินที่คิดมาอย่างรอบคอบจะช่วยให้ผู้ก่อตั้งสามารถวางแผนและสามารถทำงานอย่างเป็นระบบและช่วยทำให้วิสัยทัศน์ของพวกเขาเป็นจริง
ในการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผู้ก่อตั้งควรเริ่มจากการระบุและกำหนดค่าพื้นฐานที่สำคัญต่อธุรกิจ เช่น
บ่อยครั้งที่ต้องมีการปรับปรุงสมมติฐานเหล่านี้ซ้ำๆ เพื่อให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและสภาวะตลาดในปัจจุบันรวมถึงความเสี่ยงในอนาคต กระบวนการนี้อาจใช้เวลา แต่แทนที่จะมองว่าเป็นภาระ การทำโมเดลทางการเงินอย่างรอบคอบสามารถช่วยให้ผู้ก่อตั้งเข้าใจปัจจัยที่แท้จริงที่สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ รวมถึงมองเห็นจุดบอดที่อาจทำให้แผนการเติบโตสะดุด
นอกจากนี้ วินัยและความละเอียดรอบคอบในการทำโมเดลทางการเงินยังช่วยให้ผู้ก่อตั้งสามารถเตรียมตัวรับมือกับความไม่แน่นอนและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
โมเดลทางการเงินไม่ได้มีไว้เพื่อการระดมทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินและการบริหาร
หนึ่งในแง่มุมที่เราชอบที่สุดของการเป็นนักลงทุนร่วมทุนคือการได้ทำงานใกล้ชิดกับผู้ก่อตั้งเพื่อช่วยนำพาบริษัทของพวกเขาไปข้างหน้า สตาร์ทอัพทุกแห่งต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก และผู้ก่อตั้งมักจะต้องตัดสินใจที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทิศทางของธุรกิจ โดยการตัดสินใจเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย เช่น ผู้ร่วมก่อตั้ง ทีมผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการ
หากไม่มีกรอบการพูดคุยที่ดี การอภิปรายในประเด็นสำคัญอาจเต็มไปด้วยอารมณ์ และทำให้ยากต่อการคงไว้ซึ่งความเป็นกลางและเหตุผล การใช้โมเดลทางการเงินเป็นเครื่องมือช่วยในการอภิปรายสามารถช่วยให้ผู้ก่อตั้งแสดงให้เห็นความเป็นจริงทางธุรกิจอย่างเป็นกลาง รวมถึงประเมินโอกาสและทางเลือกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับหนึ่งข้อ: รูปแบบสำคัญมาก การจัดรูปแบบของโมเดลทางการเงินไม่ควรถูกมองข้าม การเลือกใช้ฟอนต์ โทนสี และรูปแบบตารางที่เหมาะสมสามารถเพิ่มความชัดเจนในการอ่านได้อย่างมาก และการผูกสูตรและการอ้างอิงเซลล์ที่เป็นระบบจะช่วยลดข้อผิดพลาดและทำให้สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย
ในหลายๆ ด้าน โมเดลทางการเงินก็เหมือนกับแผนที่ เป็นการสรุปภาพรวมของความเป็นจริงที่ซับซ้อน และควรต้องมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอเพื่อสะท้อนสถานะและสภาพแวดล้อมล่าสุดของธุรกิจ ผู้ก่อตั้งและนักลงทุนจึงไม่ควรถูกยึดติดกับตัวเลขในโมเดลมากเกินไป แต่ควรใช้มันเป็นเครื่องมือในการนำทางและการตัดสินใจ
การทำโมเดลทางการเงินจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวว่าอะไรถูกหรือผิดแบบขาวหรือดำ การมีโมเดลทางการเงินที่ดีสามารถช่วยผู้ก่อตั้งและนักลงทุนในการกำหนดอนาคตของธุรกิจ
คุณจิรภัทร สุวิเดชโกศล (จิ๋ว) Associate Investment, Vertex Ventures SEA and India แนะนำเพิ่มเติมถึงผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการชาวไทยที่มีความสนใจที่จะระดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน ถึงการเตรียมข้อมูลทางการเงิน
การแยกรายละเอียดของตัวเลขทั้งรายได้และต้นทุนตามประเภทของธุรกิจหรือประเภทของสินค้าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทั้งผู้ก่อตั้งและนักลงทุนเข้าใจโครงสร้างและที่มาที่ไปของรายได้ ต้นทุน และกำไรของธุรกิจได้ชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้ การแบ่งตัวเลขอย่างเหมาะสมยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้นักลงทุนสามารถมองธุรกิจผ่านมุมมองเดียวกันกับผู้ประกอบการ ทำให้การสื่อสารเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เนื่องจากตลาด e-commerceในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นในการพึ่งพาผู้จัดจำหน่ายสำหรับบางประเภทสินค้า รวมถึงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความต้องการของตลาดระหว่างกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทำให้การวิเคราะห์ผลการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างการแบ่งรายละเอียดตัวเลขเช่น
ทั้งนี้ผู้ก่อตั้งยังสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทธุรกิจ
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการวางโมเดลทางการเงินคือ growth story ที่สะท้อนถึงที่มาของธุรกิจและแนวทางการเติบโตในอนาคต แม้ว่าไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มี GDP สูงเป็นอันดับต้นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง แต่ในเชิงมหภาคกลับเติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาจำนวนประชากรที่ลดลง อัตราการเกิดต่ำ และโครงสร้างประชากรมีแนวโน้มสูงวัยมากขึ้น
ดังนั้น การที่ผู้ก่อตั้งสามารถสร้าง growth story ที่ใช้จุดแข็งของประเทศไทย เช่น การขยายฐานลูกค้านอกกรุงเทพฯ การเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวและการขยายตลาดไปยังชาวต่างชาติที่พำนักในไทย หรือแม้แต่การขยายไปตลาดต่างประเทศโดยใช้ช่องทางใหม่ๆ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ธุรกิจในมุมของขนาดตลาด (total addressable market)
ทั้งนี้ ตัวเลขและเรื่องราวที่สะท้อนกลยุทธ์การเข้าสู้ตลาด (go-to-market strategy) จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกสินค้า (export), การร่วมทุน (joint venture), การสร้างเครือข่ายพันธมิตร (partnership), หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีนักลงทุนที่มีประสบการณ์และความเชื่อมโยงในตลาดเป้าหมายสามารถช่วยเปิดโอกาสให้บริษัทขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน Vertex Ventures Southeast Asia and India มีทีมงานด้านการลงทุน 23 คน รวมถึงพาร์ทเนอร์ 8 คน และมีสำนักงานใน สิงคโปร์, บังกาลอร์, จาการ์ตา, กรุงเทพฯ, โฮจิมินห์, และ คุรุคราม โดยได้ลงทุนในบริษัทกว่า 80 แห่ง รวมถึง Unicorn ทั้งหมด 6 บริษัท เช่น Grab, Licious, และ Nium
Pitch to us!
Vertex Ventures Southeast Asia and India เห็นโอกาสของการเปลี่ยนผ่านของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากคุณกำลังสร้างธุรกิจและต้องการเงินทุน เรายินดีรับฟัง ติดต่อเราที่ https://www.vertexventures.sg/apply/ เพื่อเสนอไอเดียของคุณ!
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด