ในยุคที่เครื่องมือ AI กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานและชีวิตประจำวัน หลายคนคุ้นเคยกับแชตบอทยอดฮิตอย่าง ChatGPT, Gemini, Claude, Perplexity หรือ DeepSeek กันดีอยู่แล้ว แต่แม้แต่ผู้ใช้ระดับโปรก็ยังพบว่า การจะได้ ผลลัพธ์จาก AI ที่แม่นยำและมีคุณภาพ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่ใช้ แต่อยู่ที่ว่า “เราใช้พรอมต์แบบไหน”
บทความนี้ทีมงานเว็บไซต์ของเรารวบรวม 5 AI Prompts ที่ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าสามารถใช้ได้กับทุกแชตบอท ไม่ว่าจะเป็นแชตบอทสายทำงาน สายไอเดีย หรือสายสรุปเอกสาร พรอมต์เหล่านี้จะเปลี่ยนการใช้ AI ให้กลายเป็นเหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวมืออาชีพ ที่เข้าใจคุณจริง ๆ

1. สรุปข้อมูลแบบไม่เสียรายละเอียดสำคัญ
Prompt:
- “Summarize this without losing nuance”
- (สรุปสิ่งนี้โดยไม่ให้รายละเอียดหรืออารมณ์หลุดหายไป)
การสรุปเนื้อหาด้วย AI อาจดูง่าย แต่หลายแพลตฟอร์มกลับ สรุปแบบตัดทอนประเด็นสำคัญ จนเสียบริบท พรอมต์นี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการ ใช้ ChatGPT สรุปบทความ หรือสรุปรายงานประชุม โดยยังคงโทนภาษา และข้อมูลสำคัญครบถ้วน
เหมาะกับ: รายงานประชุม, บทความยาว, ทรานสคริปต์, เอกสารทางกฎหมาย
เทคนิคเสริม:
- Summarize this without losing nuance. Keep key quotes and stats where relevant and note any conflicting points or important tone shifts.
- (ช่วยสรุปโดยไม่ละทิ้งรายละเอียดหรือความหมายที่ซ่อนอยู่ รักษาคำพูดสำคัญและสถิติไว้ในจุดที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุประเด็นที่ขัดแย้งกันหรือการเปลี่ยนแปลงโทนเนื้อหาที่สำคัญด้วย)
2. หาไอเดียใหม่ พร้อมเหตุผลประกอบ
Prompt:
- “Give me 3 ideas for [X], and explain why each one could work”
- (ขอไอเดีย 3 ข้อเกี่ยวกับ [หัวข้อ] พร้อมอธิบายว่าแต่ละข้อมีโอกาสสำเร็จอย่างไร)
พรอมต์นี้เหมาะมากสำหรับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะนอกจากได้ไอเดียหลากหลาย ยังได้ "เหตุผล" ประกอบให้เลือกใช้หรือปรับต่อได้อย่างมั่นใจ
เหมาะกับ: คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง, แคมเปญโฆษณา, สื่อโซเชียล, การตั้งชื่อแบรนด์
ต่อยอดได้ด้วยคำสั่ง:
- Rank these based on originality.
- (จัดอันดับไอเดียเหล่านี้ตามความแปลกใหม่/ความคิดสร้างสรรค์)
- Which one would perform best on Instagram?
- (ไอเดียไหนน่าจะได้ผลดีที่สุดบน Instagram?)
- Combine idea 1 and 3 into something more unique.
- (ลองรวมไอเดียข้อ 1 และข้อ 3 เข้าด้วยกัน ให้กลายเป็นไอเดียที่โดดเด่นยิ่งขึ้น)
3. คำอธิบายเชิงเทคนิคที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
Prompt:
- “Act like an expert in [field] and explain this in plain English”
- (ช่วยอธิบายเรื่องนี้ในแบบที่คนทั่วไปเข้าใจ เหมือนคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น)
เมื่อคุณเจอเอกสารที่เต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะ เช่น สัญญา การเงิน หรือวิทยาศาสตร์—พรอมต์นี้คือกุญแจให้ AI แปลภาษายากให้เข้าใจง่ายขึ้น
เหมาะกับ: คู่มือสินค้า, ข้อมูลกองทุน, เงื่อนไขประกัน, เอกสารทางวิชาการ
ตัวอย่างบริบทเพิ่มเติม:
- Explain this to someone without a law degree.
- (ช่วยอธิบายเรื่องนี้ในแบบที่คนทั่วไปซึ่งไม่มีพื้นฐานด้านกฎหมายก็เข้าใจได้)
- Break this down for a parent of a child with an IEP.
- (ช่วยอธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ปกครองที่มีลูกอยู่ในแผนการเรียนเฉพาะบุคคล (IEP) เข้าใจง่ายที่สุด)
- Talk to me like I’m new to investing and don’t want to sound clueless.
- (ช่วยพูดกับฉันเหมือนเป็นคนที่เพิ่งเริ่มลงทุน และไม่อยากฟังดูไม่เข้าใจอะไรเลย)
4. ตรวจจุดบอดก่อนลงมือจริง
Prompt:
- “What am I missing here?”
- (ฉันพลาดอะไรไปไหมในแผนนี้?)
บางครั้งเราคิดเองจนมองไม่เห็นจุดอ่อน พรอมต์นี้ให้ AI ทำหน้าที่เป็น Devil’s Advocate หรือนักวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ตรวจสอบแผนหรือไอเดียที่อาจมีช่องโหว่
เหมาะกับ: แผนธุรกิจ, สคริปต์พรีเซนต์, pitch deck, รายการงานรายวัน
ขยายผลได้ด้วย:
- From an outside perspective, what am I missing, underestimating, or getting wrong?
- (มองจากมุมคนนอก มีอะไรที่ฉันมองข้าม ประเมินต่ำไป หรือเข้าใจผิดบ้างไหม?)
- Assume you're an investor / Respond like a skeptical parent.
- (สมมติว่าคุณเป็นนักลงทุน / ตอบเหมือนเป็นผู้ปกครองที่ตั้งคำถามกับทุกอย่าง)
5. เปลี่ยนข้อมูลที่ยุ่งเหยิงให้เป็นแบบแผน
Prompt:
- “Turn this into a checklist / table / calendar / step-by-step plan”
- (ช่วยจัดข้อมูลนี้ให้อยู่ในรูปแบบเช็กลิสต์ ตาราง ปฏิทิน หรือขั้นตอนทีละขั้น)
พรอมต์นี้เหมาะมากเมื่อคุณมีข้อมูลเยอะ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน AI จะช่วยจัดระเบียบไอเดียทั้งหมดให้เป็นรูปแบบที่นำไปใช้ได้ทันที
เหมาะกับ: ตารางคอนเทนต์, ลิสต์เดินทาง, แผนการเรียน, โปรเจกต์ทำงาน
คำสั่งต่อยอด:
- Turn this into a Notion-style table with columns for due date, priority, and status.
- (จัดข้อมูลนี้ให้อยู่ในรูปแบบตารางสไตล์ Notion โดยมีคอลัมน์สำหรับกำหนดส่ง ความสำคัญ และสถานะ)
- Color-code by urgency: red for urgent, yellow for medium, green for low.
- (ใส่สีตามระดับความเร่งด่วน: สีแดงสำหรับงานด่วน สีเหลืองสำหรับงานระดับกลาง และสีเขียวสำหรับงานที่ยังไม่รีบ)
- Add estimated time to complete next to each step.
- (เพิ่มเวลาที่คาดว่าจะใช้ในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ข้าง ๆ ด้วย)
อ้างอิง: tomsguide