ผู้ว่า ธปท. เผยการใช้ Digital Currency ในไทย ต้องรออย่างน้อย 3-5 ปี

ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงความเห็นถึงเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency) จะไม่แพร่หลายในเร็วๆ นี้ เชื่อต้องใช้เวลาวางโครงสร้างและทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างน้อย 3-5 ปี

Digital Currency ถือเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทยก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอย่างการเปิดตัว 'อินทนนท์' ที่เป็น Wholesale Central Bank Digital Currency โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม และมีแผนจะเริ่มใช้จริงภายในต้นปี 2019 นี้

แต่หากถามถึงมุมมองการใช้ Digital Currency ในประเทศไทยนั้น คุณวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า การใช้ Digital Currency แทนเงินสดในประเทศไทยนั้นต้องรอความพร้อมของส่วนต่างๆ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปีเลยทีเดียว

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นต่อวาทะของ Christine Lagarde ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ที่ต้องการให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ หันมาใช้ Digital Currency เพื่อลดการใช้เงินสดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 โดยคุณวิรไทชี้ประเด็นที่ทำให้ Digital Currency เกิดขึ้นยากในไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ว่า มาจากความยากของการพัฒนาเทคโนโลยี ความยากต่อการเข้าใจของผู้ใช้ และความซับซ้อนของระบบการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ คุณวิรไทเชื่อว่าหากทำระบบการชำระแลกเปลี่ยนเงินบนดิจิทัล (Digital Payment) ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดการใช้เงินสดได้ไม่ต่างกับการใช้ Digital Currency เช่นกัน

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI Academy คอร์สเรียน AI ฟรีจากผู้สร้าง ChatGPT เรียนรู้ตั้งแต่เบสิกยันระดับโปร

ก่อนหน้านี้ OpenAI ผู้พัฒนา ChatGPT ได้เปิดตัว OpenAI Academy แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้าน AI เพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับวิธีการทำงานใหม่ๆ ร่วมกับ A...

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...