BOI ปรับเกณฑ์ LTR Visa ใหม่ หวังดึง Talent ต่างชาติ-นักลงทุนเข้าไทย

ล่าสุด ครม. อนุมัติบีโอไอ (BOI) ปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษ LTR Visa (Long-Term Resident Visa) หวังดึงบุคคลากรชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง รวมถึงนักลงทุนระดับโลกเข้าสู่ไทย หวังผลักดันไทยเป็นศูนย์กลาง Talent ระดับโลกหลังมีชาวต่างชาติกว่า 6,000 รายขอยื่น LTR Visa เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับ LTR Visa เป็นวีซ่าชนิดพิเศษที่มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติศักยภาพสูงทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่


  1. ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
  2. ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทยให้กับนายจ้างในต่างประเทศ
  3. ผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง
  4. ผู้เกษียณอายุ รวมถึงผู้ติดตาม

สำหรับ LTR Visa จะอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติสามารถพำนักในประเทศไทยได้ 10 ปีไม่จำกัดจำนวนครั้งที่เดินทางเข้าออกประเทศ พร้อมทั้งได้รับอนุญาตให้ทำงาน โดยลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเษ เหลือร้อนละ 17 และยังได้รับการผ่อนปรนระยะเวลาการรายงานตัวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจากปกติทุก 90 วัน เป็นปีละ 1 ครั้งด้วย

โดยเกณฎ์ในการปรับเปลี่ยน LTR Visa ครั้งนี้มีสาระสำคัญทั้งหมด 5 ข้อได้แก่

1.ขยายขอบเขตของอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ 

ให้ครอบคลุมอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้มาช่วยยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรไทย

2.ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ และผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทยให้กับนายจ้างในต่างประเทศ 

เพื่อลดความซ้ำซ้อนกับคุณสมบัติอื่น ๆ ที่แสดงถึงความรู้ความสามารถและศักยภาพของชาวต่างชาติทั้งสองประเภทได้ดีอยู่แล้ว เช่น รายได้ขั้นต่ำ วุฒิการศึกษา การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และความมั่นคงของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดของมาตรการและสามารถเข้าถึงกลุ่ม Talent จำนวนมากขึ้น

3.ผ่อนคลายข้อกำหนดด้านรายได้ สำหรับบริษัทนายจ้างในต่างประเทศของผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทย 

จากเดิมกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับเป็น 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และให้รวมถึงบริษัทลูกที่มีบริษัทแม่ ซึ่งมีรายได้ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐถือหุ้นทั้งสิ้นด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงพนักงานทักษะสูงของทั้งบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และบริษัทที่กำลังเติบโต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ประเทศไทยยังขาดแคลน

4.ยกเลิกข้อกำหนดด้านรายได้ สำหรับกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง 

จากเดิมกำหนดรายได้ส่วนบุคคล 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี โดยจะมาให้ความสำคัญกับทรัพย์สินที่มั่นคงและการลงทุนระยะยาวในประเทศไทย (ไม่น้อยกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ) ของชาวต่างชาติกลุ่มนี้ มากกว่าการพิจารณารายได้ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้น

5.ขยายสิทธิสำหรับผู้ติดตาม

จากเดิมกำหนดเพียงคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ครอบคลุมถึงพ่อแม่และผู้อยู่ในอุปการะ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ติดตาม เช่นเดียวกับวีซ่าอีกหลายประเภท เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจของมาตรการ สำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์ให้ครอบครัวเข้ามาพำนักในประเทศไทยด้วยกัน และยังช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศของสมาชิกครอบครัวชาวต่างชาติอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...

Responsive image

USPACE ไต้หวัน หนุน JORDSABUY พัฒนาเทคโนโลยีที่จอดรถในไทยและอาเซียน

JORDSABUY (จอดสบาย) สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการจองและแชร์ที่จอดรถในประเทศไทย ดึงทุนไต้หวันร่วมขยายธุรกิจ พร้อมแรงหนุนจาก depa...