Uber ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอปรับกฎหมายบริการร่วมเดินทาง

Uber เสนอปรับกฎหมายบริการร่วมเดินทาง ได้ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสนับสนุนการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบันรองรับบริการร่วมเดินทางผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ขณะนี้มีประชาชนมากกวา่ 51,000 คนร่วมลงชื่อเห็นด้วย

เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรและนโยบายของบริษัท Uber ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติ เพื่อขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นตัวแทนประชาชนในการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2522) ให้รองรับการร่วมเดินทางผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นตัวแทนในการรับหนังสือ

โดยคุณเอมี่ กล่าวว่า "Uber ขอขอบคุณทุกเสียงสนับสนุนของคนไทย ที่มีต่อบริการร่วมเดินทางด้วยดีมาโดยตลอด จนล่าสุด Uber ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากกว่า 51,000 รายชื่อผ่านทางเว็บไซต์ https://action.uber.org/th/  ทุกเสียงที่ร่วมลงชื่อคือกำลังใจของเราที่จะมุ่งมั่นเดินหน้าทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้มีกฎหมายรองรับบริการร่วมเดินทางในประเทศไทยอย่างเป็นทางการให้สมกับที่คนไทยรอคอย"

"Uber ได้เข้าพบท่านรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสู่การปรับปรุงกฎระเบียบรองรับบริการร่วมเดินทางให้คนไทยสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพในการเดินทางได้อย่างเต็มที่ผ่านทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เปรียบเสมือนตัวแทนของประชาชนคนไทย"

นางเอมี่กล่าวอีกว่า "Uber มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้ไปถึงเป้าหมายและโดดเด่นอยู่ระดับแถวหน้าของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาและใช้ประโยชน์ให้กับประชาชน สังคม ทั้งนี้ประเทศในอาเซียนเกือบทั้งหมดได้มีการยอมรับการให้บริการร่วมเดินทางเเล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ และเวียดนาม"

Uber ได้เปิดให้บริการเทคโนโลยีร่วมเดินทางแก่ผู้คนในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 3 ปี 3 เดือนแล้ว และในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2560 มีคนมากกว่า 1.3 ล้านคนเปิดแอปพลิเคชัน Uber ทั่วประเทศไทย ด้วยการเข้ามาเติมเต็มระบบขนส่งสาธารณะ สร้างประสบการณ์ใหม่และแก้ไขปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทาง รวมถึงการสร้างความปลอดภัยของผู้โดยสารผ่านเทคโนโลยี ที่สำคัญคือมีส่วนให้โอกาสในการสร้างรายได้เสริมของประชาชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการลดปัญหาการจราจรและมลพิษทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการประจำประมาณ 400,000 คนในประเทศไทย ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา

"Uber หวังว่าทางภาครัฐจะมองเห็นถึงโอกาสและความเป็นไปได้อีกมากที่ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีร่วมเดินทางเพื่อคนไทยทุกคน เพื่อนักทอ่งเที่ยว เพื่อเศรษฐกจิสังคมและเพื่อประเทศของเรา" นางเอมี่ กล่าว

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมสถานีชาร์จ EV ของ PEA บนเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมออกเดินทางทั้งกลับบ้าน แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจกังวลเรื่องจุดชาร์จระหว่างทาง Techsauce จึงรวบรวมจุดให้บริการสถานีชาร์จ EV ทั่วประเท...

Responsive image

วิจัยพบ AI ไม่ได้คิดอย่างที่พูด แม้จะโชว์วิธีคิดยาวเหยียด แต่ซ่อนความคิดที่แท้จริงไว้ไม่บอกใคร

ตอนนี้มี AI ประเภทใหม่ที่เรียกว่าโมเดลจำลองการให้เหตุผล (SR Model) ซึ่งถูกสร้างมาให้โชว์วิธีคิดทีละขั้นตอน เวลาเราถามคำถามยากๆ AI จะอธิบายออกมาเป็นขั้นเป็นตอนว่าคิดด้วยวิธีไหน ถึงไ...

Responsive image

เปิดตัว Llama 4 โมเดล AI ที่ฉลาดที่สุดของ Meta ทำอะไรได้บ้าง แต่ละโมเดลต่างกันอย่างไร ?

Meta ได้เปิด Llama 4 ซึ่งเป็น AI เวอร์ชันอัปเดตล่าสุดอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนี้มีโมเดลใหม่ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Llama 4 Scout, Llama 4 Maverick และ Llama 4 Behemoth โดยทาง Meta เป...