SME ไทยรับมือกับความยั่งยืนอย่างไรดี ? รู้จัก UOB Sustainability Compass ตัวช่วย SMEs เริ่มต้นเส้นทางแห่งความยั่งยืน

ยุคนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงความยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน ก็ให้ความสำคัญ

จากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2024 พบว่า 94% ของ SMEs ตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน (Sustainability) 

แต่ด้วยความกังวัลทั้งด้านเงินทุน และความพร้อมของธุรกิจ อาจทำให้ไม่รู้ว่าธุรกิจควรจะเริ่มต้นเรื่องของความยั่งยืนอย่างไรดี?

UOB เข้าใจความท้าทายด้านความยั่งยืนที่ SMEs ไทยกำลังเผชิญอยู่เป็นอย่างดี จึงได้พัฒนา “UOB Sustainability Compass” เครื่องมือประเมินความยั่งยืนแบบออนไลน์ ผ่านการตอบคำถาม Yes / No จำนวน 14 ข้อ ที่ครอบคลุม 8 ภาคธุรกิจหลัก ในการที่จะช่วย SMEs ไทยทราบว่าธุรกิจของตนเอง ยืนอยู่ในจุดไหนในเรื่องของความยั่งยืน 

โดยหลังการประเมิน SMEs จะได้รับรายงานที่มาพร้อมแนวทางการปฏิบัติที่จะช่วยชี้นำให้ธุรกิจสามารถปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ 

เครื่องมือ UOB Sustainability Compass ได้รับความนิยมจากธุรกิจในสิงคโปร์และมาเลเซียกว่า 1,700 บริษัท และสำหรับประเทศไทย มีธุรกิจเข้ามาใช้งานแล้วมากกว่า 1,000 ราย 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ธุรกิจของเราพร้อมแค่ไหนในการก้าวสู่ความยั่งยืน ?  

UOB Sustainability Compass ช่วยให้ SMEs  ทราบผลได้ทันทีว่าธุรกิจมีความยั่งยืนอยู่ในระดับใด: ระดับเริ่มต้น (Starter) ปานกลาง (Intermediate) หรือสูง (Advanced)

พร้อมรับแผนงาน (Roadmap) สำหรับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เสมือนเข็มทิศที่ชี้นำทางธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยสรุปได้ใน 5 ขั้นตอน 

  1. การทำความเข้าใจ (Understand)
  2. การชี้วัด (Measure)
  3. กำหนดกลยุทธ์ และเป้าหมาย (Formulate)
  4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Implement)
  5. การประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ (Integrate)

โดยในแต่ละขั้นตอนจะมีคำแนะนำ ตัวอย่าง และข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กฎระเบียบ บรรทัดฐาน และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่า SMEs ในแต่ละอุตสาหกรรมสามารถเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ก้าวสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

UOB พร้อมสนับสนุน สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน โดยอิงจาก UOB Sustainable Finance Frameworks

 ปัจจุบันกรอบแนวคิดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของ UOB ครอบคลุม 6 กิจกรรม ได้แก่

  • สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building)
  • สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
  • สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  • สินเชื่อบริการและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Trade Finance)
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจอาหารและการเกษตร (Food and Agribusiness)
  • สินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing)

รวมถึงบริการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้ SMEs ไทยเข้าถึงสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนได้เพิ่มขึ้น

UOB Sustainability Compass เปิดโอกาสให้ทุกธุรกิจ สามารถเข้ามาใช้งานได้

UOB Sustainability Compass เป็นเครื่องมือสำคัญที่ไม่เพียงจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของ SMEs ให้เข้าใจบริบทความยั่งยืนที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงกับอุตสาหกรรมและระดับความพร้อมของตน  แต่ยังช่วยชี้นำแนวทาง (How to) ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น 

สามารถทำแบบสอบถามออนไลน์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ uob.co.th/compass-quiz-th

และดูข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน uob.co.th/compass-th หรือสแกน QR Code 

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ชางงี สิงคโปร์ ขึ้นแท่นสนามบินดีสุดในโลก 2025 คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 13 จาก Skytrax

สนามบินนานาชาติซางงี (SIN) แห่งประเทศสิงค์โปร์ ขึ้นแท่นสนามบินที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2025 จากการจัดอันดับของ Skytrax World Airport เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2025 นับเป็นครั้งที่ 13 ในป...

Responsive image

CEO Shopify ชี้ AI ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทักษะที่ทุกคนต้องมีในองค์กร

บันทึกภายในของ Tobi Lütke ซีอีโอของ Shopify กลายเป็นที่จับตาอย่างมากในวงการเทคโนโลยีและการลงทุน เนื่องจากเขาประกาศชัดว่า “การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ” คือความสามารถพื้นฐานที่พนักง...

Responsive image

เปิด 10 อันดับ มหาเศรษฐีโลก 2025 Elon Musk ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง

สำรวจ 10 อันดับมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลกประจำปี 2025 พร้อมเปิดโฉมเศรษฐีไทยผู้มีบทบาทสำคัญบนเวทีโลกได้ในบทความนี้...