Gen Z จะทำธุรกิจเก่งกว่ารุ่นพ่อแม่ เพราะ 4 เหตุผลสำคัญ

หมดยุคเป็นลูกน้องแล้ว เพราะงานในฝันของคนรุ่นใหม่คือการเป็นนายตัวเอง วิจัยล่าสุดพบว่า Gen Z ถึง 50% ไม่อยากทำงานประจำ แต่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเอง และมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจได้ดีกว่ารุ่นพ่อรุ่นแม่ด้วย เพราะอะไรไปดู

คนรุ่นใหม่ไม่ขอเป็น ‘ลูกจ้าง’ ของใครอีกแล้ว

ผลการศึกษาจาก Samsung และ Morning Consult บริษัทเอกชนด้านข้อมูลระดับโลกได้สำรวจคน Gen Z มากกว่า 1,000 คนในหัวข้อ อนาคตการทำงานของคุณเป็นอย่างไร ? พบว่า Gen Z เริ่มเปลี่ยนเป้าหมายในการทำงานใหม่ 

แทนที่พวกเขาจะหางานประจำที่มั่นคงเหมือนคนในรุ่นก่อน ๆ คนรุ่นใหม่กว่า 50% เลือกที่จะเดินหน้าเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง และหากไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ Gen Z ส่วนมากสนใจทำงานใน 3 อุตสาหกรรมหลัก อาทิ

  1. อุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อ ได้รับความสนใจ 33%
  2. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการออกแบบ ได้รับความสนใจ 30%
  3. อุตสาหกรรมสุขภาพ ได้รับความสนใจ 24%

เนื่องจากความสนใจของคนในช่วงอายุนี้จะเอนเอียงไปทางงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์และริเริ่มนวัตกรรมที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม ทำให้ 3 อุตสาหกรรมนี้ได้รับความนิยมอย่างมากนั่นเอง

ทำไม ‘งานประจำ’ ถึงไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

ไม่ใช่งานประจำไม่ดี แต่แค่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของ Gen Z  คือสาเหตุหลักที่ทำให้พวกเขาไม่สนใจงานเหล่านี้ เนื่องจากลักษณะนิสัยของคนในเจนเนอเรชั่นนี้ ต้องการงานที่มีความยืดหยุ่น มีอิสระ และเป็นงานที่สามารถตอบสนองเป้าหมายในชีวิตของพวกเขาได้

เช่น งานที่สามารถเลือกเวลาและสถานที่ทำงานได้ รวมถึงสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมไปพร้อม ๆ กับการสร้างรายได้ ผู้ประกอบการจึงถือเป็นอาชีพที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ทั้งหมด

แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ถ้าคนรุ่นนี้จะทำธุรกิจ จะเก่งกว่ารุ่นพ่อแม่ด้วย ผลการศึกษาพบว่า Gen Z มีความสามารถมากกว่าคนรุ่นเก่าในบริหารธุรกิจ

4 เหตุผลที่คนรุ่นใหม่เหมาะจะเป็นผู้ประกอบการ

ผลสำรวจในปี 2022 พบว่า อาชีพผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ มีคนที่อยู่ในช่วงวัย Gen Z มากถึง 62% ซึ่งมากกว่าคนรุ่น Millennial, Gen X และ Baby Boomer อีก จึงถือว่าเป็นเจนเนอเรชั่นที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดในประวัติศาสตร์

โดยช่วงอายุมากที่สุดของผู้ประกอบการ Gen Z ที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 24 ปีเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้มีความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น Moziah Bridges ที่เริ่มต้นทำธุรกิจโบว์หูกระต่ายตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ เนื่องจากเจ้าตัวชอบนำมาใส่คู้กับสูท และปัจจุบันทำเงินได้ปีละ 150,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 5 ล้านบาท

ซึ่งเหตุผลที่ทำให้คนในเจนเนอเรชั่นนี้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการ มีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

1. เชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี

Gen Z เกิดและเติบโตมาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยี ทำให้คนในช่วงอายุนี้เคยชินกับการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงยังสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุผลที่ทำให้ Gen Z รู้จักเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสามารถนำมาปรับใช้เพื่อขยายธุรกิจ และเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าสำหรับทำโปรโมชัน หรือใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารและติดต่อกับกลุ่มลูกค้าของตนเอง

2. ทำธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือสังคม

ผู้ประกอบการที่ดี นอกจากจะหมายถึงคนที่บริหารธุรกิจให้มีกำไรแล้ว การสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมก็เป็นอีกหนึ่งในสิ่งที่สมควรทำ ซึ่ง Gen Z ส่วนมากให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ เช่น ด้านความยั่งยืน การดูแลสิ่งแวดล้อม หรือการช่วยเหลือสังคม

ดังนั้น แนวทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของคนในช่วงอายุนี้จึงมีประเด็นการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของ Gen Z ส่วนมากได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าเป็นอย่างดี

3. ลักษณะนิสัยยืดหยุ่นและปรับตัวเก่ง

Gen Z ถือเป็นเจนเนอเรชั่นที่เก่งมากในเรื่องความยืดหยุ่นและการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่เติบโตมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงมากมายในด้านเศรษฐกิจและสังคมหลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น การเปลี่ยนผ่านสู่สมาร์ตโฟน หรือการแพร่ระบาดของ Covid 19 พวกเขาจึงมีทักษะในการปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจ

4. วิ่งเข้าหาความรู้อยู่เสมอ

การทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อยถือเป็นเรื่องที่ยาก เพราะนอกจากความรู้ที่น้อยแล้ว ประสบการณ์ก็ยิ่งน้อยตามไปด้วย แต่ทว่า Gen Z ไม่ได้มองเรื่องเหล่านี้เป็นอุปสรรค เพราะคนในช่วงอายุนี้ชอบที่จะตั้งคำถามและหาคำตอบให้ตัวเองอยู่เสมอ เช่น ลงคอร์สเรียน เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะ หรือสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เจ้าของธุรกิจ Gen Z สามารถทำธุรกิจได้ดีกว่าคนในรุ่นก่อน ๆ

อ้างอิง: cnbc, news.samsung, startupsmagazine, finance.yahoo, wolterskluwer, Entrepreneurial spirit index by generation 2021 | Statista, forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดบทเรียนจาก Steve Jobs ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยแนวคิด “ไม่ลดคน ไม่ตัดงบ”

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2008 หลายบริษัทเลือกที่จะลดขนาดองค์กร ปลดพนักงาน และตัดงบประมาณเพื่อลดความเสี่ยง แต่ Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple กลับสวนกระแส ด้วยแนวคิดที่ว่า “จะเดินหน้...

Responsive image

CEO Shopify ชี้ AI ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทักษะที่ทุกคนต้องมีในองค์กร

บันทึกภายในของ Tobi Lütke ซีอีโอของ Shopify กลายเป็นที่จับตาอย่างมากในวงการเทคโนโลยีและการลงทุน เนื่องจากเขาประกาศชัดว่า “การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ” คือความสามารถพื้นฐานที่พนักง...

Responsive image

Bill Gates เผย 3 อาชีพที่ AI ยังแทนที่ไม่ได้

Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้ออกมาให้ความเห็นว่า AI จะเข้ามาแทนที่งานหลายอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ยังเป็นคนกำหนดว่าต้องการให้ AI ทำอะไร และงานไหนควรให้มนุษย์ทำ จาก...