กรอบแว่นจากเมล็ดละหุ่ง ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน

อุตสาหกรรมแว่นตากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการผลิตแว่นตาด้วยพลาสติก หันไปหาทางเลือกที่ยั่งยืนด้วยวัสดุชีวภาพจากเมล็ดละหุ่ง

ในอุตสาหกรรมผลิตแว่นตาไม่ว่าจะเป็นกรอบแว่น Hi-end ราคาสูง ๆ หรือแว่นตาราคาถูกที่หาซื้อได้ทั่วไป ล้วนผลิตจากพลาสติก ถึงแม้ว่าวัสดุดังกล่าวจะสามารถรีไซเคิลได้ แต่แว่นตาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกทิ้งยังคงถูกฝังกลบเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

Marchon หนึ่งในนักออกแบบและผู้ผลิตแว่นตารายใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผลิตกรอบแว่นกว่า 22 ล้านชิ้นต่อปีให้กับหลากหลายบริษัทชั้นนำอย่าง Lacoste, Nike และ Calvin Klein  หวังที่จะเปลี่ยนแปลงการผลิตแว่นตาให้มีความยั่งยืนมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาพลาสติกต่อไป Marchon กำลังค้นหาวิธีสร้างสรรค์ในการใช้วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุชีวภาพแทน

จากการทดสอบกระบวนการทางวิศวกรรมและการตรวจสอบที่ครอบคลุม วัสดุชีวภาพจากเมล็ดละหุ่ง หนึ่งในพืชที่เติบโตไวและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศอินเดีย ได้กลายเป็นวัสดุทดแทนพลาสติกที่ประสบความสำเร็จที่สุด กรอบแว่นที่ได้มีความแข็งแรง ทนน้ำ และใช้งานได้ดีในทุกสภาวะ 

ความสำเร็จนี้ส่งผลให้มีกรอบแว่นจากเมล็ดละหุ่งมากขึ้นโดยเฉพาะแบรนด์ภายใต้บริษัทโดยตรงอย่าง Dragon รวมถึงแบรนด์แว่นตาชื่อดังอย่าง Calvin Klein, Lacoste, Nike, Ferragamo และอื่น ๆ ให้ความสนใจที่จะเปลี่ยนกรอบแว่นตาเป็นวัสดุชีวภาพคาร์บอนตํ่าหรือวัสดุที่รีไซเคิลได้แทน

นอกจากนี้แบรนด์แว่นตาระดับกลางไปจนถึงระดับ Hi-end ได้ให้ความสนใจความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุทางเลือกเช่น สแตนเลสชนิดรีไซเคิล อะซิเตตชนิดรีไซเคิล และพลาสติกรีไซเคิล 

อย่างไรก็ตาม Thomas Burkhardt CEO จาก Marchon กล่าวว่า “ไม่มีวัสดุทางเลือกใดที่มาทดแทนพลาสติกได้ดีเท่าวัสดุชีวภาพจากเมล็ดละหุ่งอีกแล้วในตอนนี้” 

วัสดุทางเลือกจะกลายเป็นกระแสหลักในอนาคต Marchon มีเป้าหมายที่จะผลิตกรอบแว่นที่ทำจากวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืนอย่างน้อย 50% ภายในปี 2025 การเปลี่ยนแปลงนี้แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแว่นตา เพิ่มความหวังที่จะสิ้นสุดการผลิตกรอบแว่นจากพลาสติกในอนาคตอันใกล้

อ้างอิง: fastcompany



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets กิจกรรมคู่ขนานของการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้างน...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...