Microsoft ใช้คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สร้าง Data Center หวังช่วยโลก

ตอนนี้ Microsoft กำลังทดลองใช้คอนกรีตแบบใหม่ ที่รักษ์โลกมากกว่าเดิม ในการสร้างศูนย์ข้อมูลที่เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยลดผลกระทบของศูนย์ข้อมูลต่อสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้องใช้คอนกรีตคาร์บอนต่ำ 

ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการหลอมคอนกรีต และกระบวนการทำซีเมนต์นั้นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 8% ของทั้งโลก

ปกติแล้วปูนซีเมนต์จะผลิตด้วยการเผาเตาเผาที่เต็มไปด้วยหินปูนและวัสดุอื่นๆ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมหาศาล แต่ Microsoft กำลังหาทางใช้สูตรผสมแบบใหม่ ที่จะทำให้ปัญหานี้หมดไป 

โดยการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ บริษัทให้ผู้รับเหมาใช้คอนกรีตที่ทำจากสาหร่ายทะเลและของเสียจากการเผาถ่านหินและการผลิตเหล็ก ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ของคอนกรีตได้ครึ่งหนึ่ง

นอกจากนี้กองทุน Climate Innovation Fund ของ Microsoft ยังได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพอื่นๆ ที่พัฒนาคอนกรีตและวัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ แม้ว่าในตอนนี้บริษัทจะยังไม่รับประกันว่าวัสดุหรือสูตรผสมที่คิดค้นขึ้นมานี้จะสามารถเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับสร้างศูนย์ข้อมูลของบริษัทแต่ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากศูนย์ข้อมูลยังคงมีมากจากพลังงานที่เซิร์ฟเวอร์ต้องใช้

หากโครงการที่ Microsoft กำลังดำเนินการอยู่นี้สำเร็จ จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายในการเป็นบริษัทที่ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ภายในปี 2030 

ที่มา : theverge

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

VTT จับมือ Refinity ถ่ายทอดเทคโนโลยี Olefy พลิกโฉมการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสมสู่เวทีโลก

VTT หน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติของฟินแลนด์ ได้ลงนามถ่ายทอดสิทธิการใช้ Olefy เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกแบบผสม (mixed plastic recycling) ให้กับบริษัท Refinity...

Responsive image

Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006 กล่าวอะไรบ้างบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum

Pro.Muhammad Yunus เดินทางมาร่วมงาน BIMSTEC Young Gen Forum: Where the Future Meets งานสัมมนาคู่ขนานกับการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สาระสำคัญมีอะไรบ้า...

Responsive image

"Fungal Battery" แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา พิมพ์ 3D ได้ ผลิตไฟฟ้าเองได้ ย่อยสลายได้จริง

แบตเตอรี่ชีวภาพจากเชื้อรา นวัตกรรมใหม่จากสวิตเซอร์แลนด์ ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ผสมเชื้อราสร้างแบตเตอรี่ที่ผลิตไฟฟ้าได้จริง ย่อยสลายตัวเองได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมพลิกวงการ...