สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาบนเวที BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets งานสัมมนาที่เปิดให้นักธุรกิจรุ่นใหม่จากกลุ่ม ประเทศ BIMSTEC ในอนุภูมิภาคอ่าวเบงกอล มาถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์การทำธุรกิจ วิธีก้าวข้ามอุปสรรค รวมถึงคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในตลาดที่มีจำนวนประชากรรวมกว่า 1,700 ล้านคน
สำหรับหัวข้อ 'Innovation & Growth Drivers' ภายใต้งาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets เป็นงานสัมมนาที่จัดคู่ขนานไปกับ การประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 6 (6th BIMSTEC Summit) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
Innovation & Growth Drivers หรือ นวัตกรรมและตัวขับเคลื่อนการเติบโต เป็นหัวข้อเสวนาที่ให้ผู้นำและผู้ประกอบการรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย ศรีลังกา และบังกลาเทศ มาพูดคุยถึงวิสัยทัศน์ การสเกลธุรกิจ วิธีก้าวข้ามความท้าทาย การปรับตัวให้เข้ากับตลาด และโอกาสในอนุภูมิภาคอ่าวเบงกอล ตามธีมสาขาที่แต่ละประเทศได้รับบทบาทเป็นชาติผู้นำ ดังนี้
เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้นำในสาขาความเชื่อมโยง คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ เกริ่นให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าใจสิ่งที่ทำอยู่ว่า Techsauce เป็น ผู้สร้างระบบนิเวศเทค (Tech Ecosystem Builder) ที่เชื่อมโยงบริการและโซลูชันครบวงจร (End-to-End Solution) ให้แก่ผู้ที่ต้องการ ทั้งยังซัพพอร์ตผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศเทค ทั้งสตาร์ทอัพ องค์กร ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่อยู่ในสายงานวิชาการ
ด้วยวิสัยทัศน์ของ Techsauce ที่ต้องการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ระดับประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่ยังข้ามไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่ม BIMSTEC 7 ประเทศ Techsauce จึงให้ความสนใจเรื่องการดึงดูดเงินลงทุนเข้ามายังประเทศไทย ร่วมกับการสนับสนุนนวัตกรท้องถิ่นและสตาร์ทอัพไทย ให้สามารถเติบโตสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลกได้
คุณอรนุชขยายความเรื่องการเชื่อมโซลูชันแบบ End-to-End ของ Techsauce โดยอธิบายเป็น 3 เฟส ดังนี้
เราไม่สามารถสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างแข็งขันได้ ถ้าไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งไม่ใช่แค่การเชื่อมโยงด้านกายภาพ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องเชื่อมโยงกันในด้านดิจิทัล และทำงานร่วมกันทั้งสองด้านจึงจะบรรลุผล
คุณอรนุชกล่าว ต่อด้วยการสรุป 3 องค์ประกอบซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ Techsauce และระบบนิเวศเทคเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ
คุณอรนุชฝากคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่า 1) ต้องโฟกัสที่การแก้ปัญหาหรือ Pain Point ที่แท้จริงให้ลูกค้า และเข้าใจลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 2) โมเดลธุรกิจต้องทำซ้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ 3) ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาด และปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายใหม่ๆ 4) จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายวิกฤต วิกฤตโควิด-19 ถือเป็นความท้าทายสูงสุด สิ่งสำคัญที่ทำให้ข้ามผ่านได้คือ ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว 5) กุญแจแห่งความสำเร็จอยู่ที่การเปลี่ยนความท้าทายเป็น 'โอกาส' และเรียนรู้จากความผิดพลาด
'ศรีลังกา' ประเทศผู้นำในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STI : Sciences, Tecnology & Innovation) นำเสนอเทคสตาร์ทอัพโดย Dr.Wasantha Lankathilaka นักวิทยาศาสตร์อาวุโส Sri Lanka Institute of Nanotechnology (SLINTEC) หรือ สถาบันนาโนเทคโนโลยีศรีลังกา องค์กรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมให้แก่ศรีลังกาและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
งาน R&D ของ SLINTEC แบ่งออกเป็นหลายเสาหลัก เช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านสิ่งทอ ด้านผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ด้านแร่ธาตุ ด้านพลังงาน ซึ่งเมื่อ SLINTEC ได้รับคำถามหรือประเด็นปัญหาแล้ว จะส่งให้นักวิทยาศาสตร์หาแนวทางหรือเตรียมพัฒนาเป็นโซลูชัน โดยนักวิทยาศาสตร์จะส่ง Proposal ให้ลูกค้าพิจารณาก่อนว่า สามารถชำระค่าบริการเป็นรายเดือนจนครบช่วงเวลาของโครงการได้หรือไม่
ปัญหาหรือประเด็นที่ลูกค้ามักสอบถาม SLINTEC เช่น จะพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันให้ดีขึ้นได้อย่างไร, จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากไอเดียนี้ได้ไหม แต่เนื่องจาก SLINTEC เป็นฮับบริการด้าน STI ที่มีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิด ทรัพย์สินทางปัญญา (IP: Intellectual Property) ดังนั้น ถ้า SLINTEC เห็นว่าโครงการใดมีมูลค่าที่อาจนำไปสู่การจดสิทธิบัตร, เป็นความลับทางธุรกิจ หรือเกิด Know how ใหม่ได้ ทีมจะส่งให้อีกแผนกประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญารายการนั้นๆ และเมื่อได้ตัวเลขแล้ว SLINTEC ก็สามารถจำหน่ายเป็น IP ให้แก่ลูกค้าองค์กรที่นำปัญหามาให้แก้ไขได้
Dr.Wasantha แชร์ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในงาน BIMSTEC Young Gen Summit ฟังว่า SLINTEC จะพูดคุยกับลูกค้าและระบุประเด็นปัญหาให้ชัด หากเป็นลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้ STI ต้องส่งไปวิเคราะห์ก่อนว่า ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอยู่หรือไม่ เช่น วิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติมากเพียงใด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีทั้งสารสังเคราะห์และสารที่มาจากธรรมชาติ หากผู้ประกอบการรุ่นใหม่เจอเคสแบบนี้แล้วไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร จะส่งไปวิเคราะห์ที่ไหน สามารถใช้บริการของ SLINTEC ได้ หรือในกรณีผู้ที่มีไอเดียพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แต่ไม่รู้จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไหน ก็มาร่วมพัฒนากับ SLINTEC ได้ หรือถ้าเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมานาน เป็นที่ยอมรับในตลาด มีห้องแล็บของตัวเอง แต่ติดเรื่องการซื้อเครื่องมือวิจัยที่มีราคาหลักล้านดอลลาร์ ทาง SLINTEC อาจช่วยหาเครื่องมือในราคาที่ถูกลงได้
เมื่อพิจารณาในกลุ่มประเทศ BIMSTEC นักวิทยาศาสตร์อาวุโส Wasantha มองว่า แต่ละประเทศมีผู้เชี่ยวชาญต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ศรีลังกามีสถาบันนาโนเทคโนโลยี เชี่ยวชาญด้านนาโนเทค จึงสามารถเป็นฮับด้านนี้ให้ BIMSTEC ได้ และหากกลุ่ม BIMSTEC นำความเชี่ยวชาญต่างๆ มาให้บริการภายใต้ร่มคันเดียวกัน รวมสถาบันต่างๆ มาอยู่ในฮับเดียวกันได้ ไม่ว่าจะผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เว็บไซต์ หรือแยกเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการวิเคราะห์ในด้านต่างๆ แพลตฟอร์มวิจัยและพัฒนา ผู้สนใจยิ่งดูได้สะดวกว่า มีบริการอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ จะได้ออกมาเป็นรายงานในช่วงไหน
อีกมุมหนึ่ง บริษัทที่ต้องการใช้บริการหรือโซลูชันที่ตอบโจทย์เฉพาะทางอาจโพสต์ลงเว็บไซต์ได้ว่า ต้องการองค์กรหรือสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญมารับงาน เช่น งานวิจัยทางคลินิก หากมีองค์กรผู้รับวิจัยทางคลินิก (Contract Research Organization) อยู่ในระบบ อาจได้รับอีเมลหรือข้อความแจ้งเตือนว่า มีผู้สนใจใช้บริการ และถ้าเข้าไปดูรายละเอียดแล้วพบว่า สามารถให้บริการผู้โพสต์รายนี้ได้ จึงติดต่อกลับไปและเสนอบริการหรือโซลูชันให้ตอบโจทย์ลูกค้ารายนี้
ผมคิดว่าการมีฮับของภูมิภาค BIMSTEC เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเราควรพิจารณาเรื่องนี้ในอนาคตอันใกล้
Dr.Wasantha เล่าว่าเคยประสบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขเองได้ แต่ผ่านพ้นมาได้เพราะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ จึงอยากแนะนำผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่า 1) หากเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้หรือต้องการความช่วยเหลือ อาจขอคำปรึกษาจากนักลงทุน กองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) คณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น เพราะคำแนะนำอาจช่วยให้ออกจากปัญหาได้เร็วขึ้น และ 2) ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ควรต้องมีเว็บไซต์ให้ผู้สนใจสื่อสารความต้องการได้ และมีช่องทางติดต่อกลับเพื่อดึงให้มาเป็นลูกค้าในอนาคต 3) แนะนำให้สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อให้บริการด้านการวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาในกลุ่ม BIMSTEC เพื่อช่วยให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ สะดวกยิ่งขึ้น และเปิดให้ผู้ประกอบการเข้ามาค้นหาบริการในราคาไม่แพงและเชื่อมไปยังสถาบันที่เกี่ยวข้องได้
Mr.Fahim เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่จาก 'บังกลาเทศ' ประเทศผู้นำสาขาการค้า การลงทุน โดย Mr.Fahim เล่าว่า เห็นขยะจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นช่วงวิกฤตโควิด-19 ใน Dhaka เมืองหลวงของบังกลาเทศ และด้วยความเป็นสถาปนิกก็อยากหาทางแก้เพื่อให้เมืองน่าอยู่ยิ่งขึ้น จึงสร้าง Garbageman เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรและทำให้ชีวิตพนักงานเก็บขยะดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี ทั้งยังสร้างการมีส่วนร่วมทางธุรกิจและชุมชนไปพร้อมๆ กัน
Mr.Fahim เปิดภาพพื้นที่ฝังกลบขยะในเมือง Dhaka ปลายทางของขยะทุกประเภท ซึ่งรองรับขยะวันละกว่า 6,500 ตัน ในขณะที่อุตสาหกรรมการจัดการขยะในตอนนั้นเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งยังมีปัญหาตามมามากมาย อย่างเรื่องกฎหมายแรงงาน ความไม่ปลอดภัยจากการใช้งานอุปกรณ์เก็บขยะ ซึ่งทำให้เมือง Dhaka ไม่น่าอยู่
ถ้ามองกันจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรเป็นขยะ เพราะการรีไซเคิลทำให้ทุกส่วนประกอบของขยะหรือของเสียนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ ต่อ หรือนำไปผลิตอะไรที่ใช้งานได้ซึ่งหมายรวมถึงการนำไปใช้ซ้ำ และเศรษฐกิจที่อยู่เบื้องหลังการจัดการขยะในลักษณะนี้ เราเรียกกันว่า เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพราะถ้าไม่ทำอะไรกับขยะ ขยะก็จะยังคงเป็นขยะ คงสภาพแบบนั้นเพราะถูกฝังกลบ
Mr.Fahim จึงอินทิเกรตข้อมูลทุกด้านเกี่ยวกับขยะกับแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น การคัดแยกขยะ กระบวนการจัดการขยะ วัสดุหรือส่วนประกอบที่นำไปรีไซเคิลได้ สร้างเป็นระบบนิเวศการจัดการขยะที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงหลักจริยธรรม อย่างเรื่องการจ้างคนทำงานเก็บขยะ มีการใช้แรงงานเด็กหรือไม่ มีขยะมากแค่ไหนที่นำไปรีไซเคิล และจากการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ด้วยข้อมูล ลูกค้าและบุคคลทั่วไปสามารถดูข้อมูลการจัดการขยะได้อย่างโปร่งใสเพราะสร้างเป็นแดชบอร์ดไว้แล้ว
ผู้ก่อตั้ง Garbageman บอกว่า ช่วงนี้ให้ความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็น PSF (Polyester Stable Fiber) หรือ เส้นใยจากขวด PET โดยทำงานร่วมกับแบรนด์กระหลักอย่าง H&M ขณะเดียวกันก็จัดทำ ระบบจัดเก็บขยะในพื้นที่ชนบท โดยให้คนในพื้นที่มาเก็บขยะ ให้อุปกรณ์ที่คำนึงถึงสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และมีรายได้ นอกจากนี้ Garbageman ยังมีระบบเงินกู้ให้แก่คนตัวเล็กตัวน้อยเพื่อช่วยดึงดูดไม่ให้แรงงานกลับเข้าไปทำงานในเมือง
Mr.Fahim กล่าวอีกว่า Garbageman ทำระบบบริหารจัดการขยะในพื้นที่ชนบทของบังกลาเทศและขยายธุรกิจออกไปได้เป็นอย่างดีเพราะได้รับความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร รวมถึง NGOs หลังจากนี้ก็หวังว่า จะได้รับความร่วมมือ องค์ความรู้ และเทคโนโลยี จากกลุ่มประเทศ BIMSTEC เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้มากยิ่งขึ้น
ปิดท้ายด้วยคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ดังนี้ 1) ความเป็นผู้ประกอบการ เป็นสิ่งท้าทาย ส่วนความยืดหยุ่น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีเพื่อพาเราก้าวข้ามทุกอุปสรรค 2) ผู้ประกอบการต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจนตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจและรักษาความพยายามนั้นเอาไว้ 3) ความร่วมมือและการสร้างเครือข่าย สำคัญต่อการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ 4) เห็นความสำคัญของ 'โอกาส' และใช้ให้เป็นประโยชน์ และ 5) กุญแจสู่ความสำเร็จคือการเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ อย่างการสร้างต้นแบบ และขยายจากแนวคิดที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด