Toyota เผยคอนเซปต์ Woven City เมืองแห่งอนาคตที่เน้นการใช้ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน

เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ในงาน CES 2020 บริษัท Toyota ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ เผย Prototype เมืองแห่งอนาคตภายใต้ชื่อ 'Woven City' โดยระบุว่าจะเป็นเมื่อที่มี Ecosystem ที่เชื่อมโยงเข้าหากันผ่าน "เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน" (Hydrogen fuel cell) ซึ่งจะเตรียมสร้างเมืองต้นแบบบนพื้นที่ 175 เอเคอร์บริเวณฐานภูเขาฟูจิ ณ ประเทศญี่ปุ่น

โดยห้องปฏิบัติการที่มีชีวิตนี้ (Living laboratory) จะมีผู้อยู่อาศัยและนักวิจัยที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา ซึ่งจะมีการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมที่เป็นโลกแห่งความเป็นจริง อย่างเช่น ชุมชนที่ปกครองด้วยตนเอง (autonomy), วิทยาการหุ่นยนต์, รถยนต์ส่วนบุคคล และบ้านอัจฉริยะ (smart homes)

Toyota ระบุว่าบริษัทยินดีรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่จะช่วยพัฒนาให้เมืองแห่งอนาคตนี้ดีขึ้น รวมถึงเชื้อเชิญทุกฝ่ายให้เข้ามีส่วนร่วมในโครงการนี้อีกด้วย

Masterplan ของการออกแบบเมืองนี้ จะแบ่งถนนออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ถนนสำหรับรถยนต์ที่วิ่งเร็ว, ถนนที่มีรถวิ่งช้า-คนเดินริมถนน และสวนสาธารณะสำหรับคนเดินเล่น

รวมถึงจะทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วยตึกที่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ เพื่อลด Carbon Footprint ส่วนหลังคาตึกก็จะรับเอาแสงอาทิตย์มาผลิตพลังงานให้กับ "เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน" (Hydrogen fuel cell) 

ส่วนพื้นที่โล่งแจ้งของตัวเมืองจะมีการปลูกพืชพื้นเมืองและพืชไฮโดรโปนิกส์ และการสร้างสวนสาธารณะ, พื้นที่ค้าขาย รวมถึงพื้นที่พบปะกัน จะเน้นการสร้างชุมชนที่ส่งเสริมให้มนุษย์เกิดการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

ทางด้านที่อยู่อาศัยจะมีการใส่เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์, เซ็นเซอร์ตรวจสอบสุขภาพ-ความเป็นอยู่ และมีเทคโนโลยีที่ความปลอดภัยให้ที่อยู่อาศัยอีกด้วย ส่วนรถยนต์ที่ใช้การเดินทางและขนส่ง แน่นอนว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จได้ ซึ่งจะไม่มีมลภาวะเกิดขึ้น

โดย Toyota วางแผนนำครอบครัวพนักงานของ Toyota Motor, นักวิจัยรับเชิญ และ Partner ในเครือ จำนวน 2,000 คนเข้ามาอยู่ใน Woven City และพื้นที่เมืองทดลองดังกล่าวจะมีการเริ่มเปิดตัวโครงการในช่วงต้นปี 2021


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...