DHL และ IBM เผยแนวโน้มการเติบโตของ AI ในอุตสาหกรรม Logistic

DHL จับมือ IBM ร่วมศึกษาศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence สำหรับการใช้งานด้าน Logistic เพื่อให้เห็นรูปแบบการประยุกต์ใช้งานที่ Disrupt อุตสาหกรรมและยกระดับสู่นวัตกรรม Logistic อัจฉริยะ (Intelligent Logistics) พร้อมแนะนำแนวทางที่ผู้บริหาร Supply Chain จะสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของ AI ทั้งด้านการพัฒนาประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

รายงานที่ DHL และ IBM จัดทำร่วมกันนี้ชี้ว่า AI สามารถเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรได้มาก ปัจจุบัน ผู้บริโภคใช้งาน AI อย่างแพร่หลาย เห็นได้จากโปรแกรมผู้ช่วยอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง (Voice Assistant) ที่เพิ่มขึ้นและฉลาดขึ้น ขณะเดียวกัน DHL และ IBM พบว่า เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพิ่มเติมในอุตสาหกรรม Logistic  ตัวอย่างเช่น การต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experiences) ผ่านการสนทนา และยังสามารถคาดเดาพฤติกรรมเพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะสั่งซื้ออีกด้วย

ปัจจุบัน เทคโนโลยี ธุรกิจและสังคม ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจ Logistic หันมาใช้กลยุทธ์การทำงานเชิงรุกด้วยการคาดการณ์อนาคตโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่สามารถทำได้ในอดีตคุณแมทเทียส ฮิวท์เกอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมทั่วโลกของ DHL กล่าวขณะที่เทคโนโลยี AI พัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เรามีหน้าที่ที่จะหาโอกาสในการใช้ประโยชน์จาก AI โดยการสำรวจความเป็นไปได้จากลูกค้าและพนักงานถึงศักยภาพของ AI ในการสร้างอนาคตของอุตสาหกรรม Logistic”

หลายๆ อุตสาหกรรมนำเทคโนโลยี AI ไปปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจได้สำเร็จ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตและวิศวกรรมที่ใช้งาน AI เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการผลิตและการบำรุงรักษา ผ่านการอาศัยการจดจำรูปภาพและรูปแบบการสนทนา ส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ AI ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางเพื่อปรับปรุงความสามารถด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองของรถยนต์ไร้คนขับ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ AI ซึ่งสามารถพลิกอุตสาหกรรมต่างๆ หลังจากที่ส่งผลกระทบและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางต่อผู้บริโภค

ภาค Logistic สามารถนำ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานตั้งแต่ส่วนของระบบหลังบ้าน งาน Operation และการให้บริการลูกค้า ด้วยความสามารถด้านการคาดเดาเหตุการณ์ ที่ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ตัวอย่างการใช้งาน AI ได้แก่ ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพและรูปแบบ พร้อมกับดำเนินการย้ายสินค้าใน Store อัตโนมัติได้ และสามารถคาดการณ์ข้อมูลที่จำเป็นได้รวดเร็ว เช่น ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลกล่วงหน้าก่อน จากข้อมูลหลายส่วนที่ได้รับมาประกอบกัน

แน่นอนว่า AI ช่วยยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร โดยแบ่งเบาภาระในส่วนของงานประจำ และช่วยให้บุคลากรด้าน Logistic สามารถทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับงานที่สำคัญกว่าและเพิ่มมูลค่ามากกว่า

เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่มูลค่า (Value Chains) ของอุตสาหกรรมและ Ecosystem ของ Logistic ส่งผลให้องค์กร อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องคุณคีธ เดียร์คส์ หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมทั่วโลกสำหรับการขนส่ง  Logistic  และขนส่งทางรถไฟ ของ IBM  กล่าวด้วยการผสานรวม AI เข้าไว้ในกระบวนการหลัก บริษัทต่างๆ จะสามารถลงทุนเพิ่มในส่วนที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่กระบวนการ ทรัพยากร และโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ที่สำคัญคือช่วยให้บุคลากรมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของตน

DHL และ IBM  สรุปจากรายงานชิ้นนี้ว่า เทคโนโลยี AI จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในแวดวงอุตสาหกรรมเหมือนที่เกิดกับโลกของผู้บริโภค AI จะนำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรม Logistic โดยก่อให้เกิดระบบงานอัตโนมัติแบบเชิงรุกที่อาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้าและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย รายงานดังกล่าวระบุถึงภาพรวมและแนวทางปฏิบัติที่ดี ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรม Logistic สามารถปรับใช้เทคโนโลยี AI ในระบบ Supply Chain ทั่วโลก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...