ถอดแนวคิด Eric Ries : องค์กรใหญ่จะพัฒนานวัตกรรมองค์กรในวิถีของ startup ได้อย่างไร

เมื่อไม่นานมานี้ Techsauce ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับแนวคิด Lean Startup ที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงโดย Eric Ries ผู้เขียนหนังสือ The Lean Startup และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ภายใต้ชื่อ The Startup Way ที่นำเสนอเรื่อง Entrepreneurial management เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้มีความทันสมัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เรามาดูกันว่าจะนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์เข้าไปกับองค์กรต่างๆ ทั้งเล็กใหญ่อย่างไร และทำไมมันถึงมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ

Eric Ries เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้พบเจอและพูดคุยกับผู้ก่อตั้งบริษัท Startup หลายต่อหลายคน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาไม่ชอบทุกอย่างที่เป็นในบริษัทใหญ่ๆ เลย ทั้งระบบอาวุโส การเมืองภายใน หรือวัฒนธรรมเดิมๆ ซึ่งทำให้ Ries ต้องถามกลับว่า "ถ้าคุณเกลียดบริษัทใหญ่ขนาดนั้น แล้วทำไมคุณถึงพยายามจะสร้างมันขึ้นมาใหม่อีกล่ะ?"

"คนชอบคิดว่า startup กับองค์กรขนาดใหญ่นั้นอยู่คนละโลกกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งจริงๆ มันเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะว่า ไม่มี startup บริษัทไหนที่อยากจะอยู่เป็นบริษัทเล็กๆ ตลอดไป"

ในหนังสือ The Startup Way เล่มใหม่ของเขา พูดถึงวิธีที่ใช้ได้กับทั้งบริษัทเล็กและใหญ่ โดยเน้นย้ำว่าการมี mindset แบบผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกๆ บริษัทในสภาพเศษฐกิจปัจจุบัน ไม่ว่าพนักงานในบริษัทนั้นจะใส่ชุดสูท ผูกไทด์ หรือใส่ฮู้ดดี้กับผ้าใบไปทำงานก็ตาม

นั้นหมายความว่า ทุกบริษัทที่อยากจะพัฒนานวัตกรรมให้ตามทันคนอื่นอยู่เสมอ ควรจะต้องให้ความสำคัญกับ entrepreneurship พอๆ กับพวกเรื่องการบัญชีและฝ่าย marketing

เขายกตัวอย่างว่า "ถ้าหากคุณเดินเข้าไปถามพนักงานในบริษัทใหญ่ๆ ถึงการทดลองไอเดียใหม่ๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือถามว่าควรบุกตลาดใหม่อย่างไร คำตอบก็คงจะเป็น ‘เดี๋ยวขอไปปรึกษาหัวหน้าก่อน’ แล้วหัวหน้าก็จะไปถามต่อๆ กันไปเป็นทอดๆ เพราะมันมีระบบอาวุโสและขั้นตอนแบบเก่าๆ ที่ทำให้แทบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย"

แต่เมื่อพูดถึงโครงสร้างบริษัทแบบที่นำวิถี startup เข้ามาใช้ มันจะมีความเปิดกว้างและไม่ใช้ระบบที่ตึงเกินไป พนักงานสามารถสร้างสรรค์ไอเดียได้โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตเจ้านายก่อนทุกครั้ง  Ries เน้นย้ำว่า อยากให้องค์กรใหญ่มองตัวเองเหมือนกับ startup คือเริ่มทำ Project จากกลุ่มเล็กๆ และให้ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จหันมามองตัวเองเป็นเหมือนนักลงทุน โดยเฉพาะเมื่อบริษัทใหญ่มีกำลังในการลงทุน สนับสนุนพนักงานรุ่นใหม่เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้กับองค์กรมากกว่า

การนำวิถีแบบ startup มาใช้เมื่อต้องการพัฒนาและทดลองนวัตกรรมองค์กร มักเริ่มจากการตั้งทีมขึ้นมาเป็นทีมเล็กๆ และให้ทุกคนได้ทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง

Ries ยกตัวอย่าง ‘ทีมขนาดพิซซ่าสองถาด’ ของ Amazon ที่ใช้วิถี startup ในการทำงานกับองค์กรใหญ่ โดยบริษัทจัดตั้งทีมขนาดที่สามารถเลี้ยงด้วยแค่พิซซ่าสองถาดได้ แปลว่าอาจจะแค่ไม่ถึง 10 คน เพื่อที่จะให้โฟกัสกับการพัฒนานวัตกรรมได้

"ในฐานะผู้ประกอบการ คุณต้องวิ่งตามคนอื่นให้ทันกับโลกที่มันเปลี่ยนไป ทั้งความแหลกหลาย และการแข่งขันท่ี่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการคิดหาสิ่งใหม่ ทดลอง พัฒนานวัตกรรม และ ออกผลิตภัณฑ์ให้ทัน จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับการอยู่รอดในปัจจุบัน"

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...