Open Data ทำไมไทยถึงต้องมีข้อมูลเปิดอย่างโปร่งใส ? สัมภาษณ์พิเศษคุณชลิต รัษฐปานะ กรรมการประกันสังคม

ประเด็นเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง ผ่านมุมมองของคุณชลิต รัษฐปานะ กรรมการประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน (ทีมประกันสังคมก้าวหน้า) คณะกรรมการประกันสังคม ชุดที่ 14

ในบทสัมภาษณ์พิเศษกับ Techsauce ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Open Data หรือการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ที่อาจเป็นกุญแจสำคัญในการไขข้อสงสัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกันตนและประชาชน

Open Data คืออะไร ? ทำไมไทยต้องมี ?

Open Data หากจำกัดความให้เข้าใจง่าย คือข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ สามารถเข้าถึง นำไปใช้ และแบ่งปันได้อย่างอิสระ โดยหัวใจสำคัญคือต้องการเปิดกว้างให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน เข้าถึงง่าย เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้น

ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) นับเป็นทรัพยากรสำคัญ เนื่องจากมีปริมาณมหาศาลจากการจัดเก็บข้อมูลประชาชน และข้อมูลการให้บริการของหน่วยงานรัฐต่างๆ 

สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ได้กำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและให้บริการสู่ระบบดิจิทัล (Digitization) 

รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล การแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเป็นกลไกสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) ผ่านการเชื่อมโยงบริการดิจิทัล

นอกจากข้อมูลแบบเปิด (Open Data) แล้ว ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการผลักดันให้ข้อมูลรัฐสภาเป็นสาธาณะ เพื่อให้สภาโปร่งใส และให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับทุกบริการของรัฐสภาได้ นำไปสู่การจัดงาน Hackathon เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน Tech ร่วมหา Solutions เพื่อเป้าหมายในการพารัฐสภาไทยไปสู่ ‘Digital Parliament’

ข้อมูลใดบ้างที่ยังไม่ถูกเปิดเป็น Open Data ?

คุณชลิต ได้กล่าวถึงข้อมูลสำคัญบางส่วนของสำนักงานประกันสังคม ที่อาจยังไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ยกตัวอย่างเช่น

สรุปการประชุม

สรุปการประชุม: คุณชลิต ระบุว่า มีการติด 'Watermark' บนเอกสารสรุปการประชุม โดยระบุว่า 'ใช้ในราชการประกันสังคมเท่านั้น ห้ามอ้างอิงหรือเผยแพร่โดยไม่รับอนุญาต' ซึ่งแตกต่างจากแนวปฏิบัติขององค์กรอื่น เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่เปิดเผยข้อมูลในลักษณะเดียวกัน หากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ ผู้ประกันตนจะไม่ทราบว่าบอร์ดมีการตัดสินใจอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับเงินของพวกเขา

ข้อมูลเชิงสถิติ

คุณชลิต กล่าวว่า ข้อมูลเชิงสถิติที่สำนักงานประกันสังคมมีอยู่ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลประชากรที่ละเอียดที่สุดในประเทศ ยังไม่เปิดให้นักวิจัยเข้าถึงได้ หากไม่มีข้อมูลนี้ นักวิจัยจะไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนได้อย่างเต็มที่

ข้อมูล GIS และ Big Data

คุณชลิต ชี้ให้เห็นว่า การมี Open Data อย่างแท้จริง จะมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนานโยบายระดับประเทศ รวมถึงเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอด ยกตัวอย่างกรณีที่ UN ต้องการข้อมูลประชากรเพื่อควบคุมการระบาดของโรคข้ามแดน แต่ข้อมูลของไทยไม่พร้อม ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณชลิต ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นโครงสร้าง และการบริหารของสำนักงานประกันสังคม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล โดยระบุว่า สำนักงานประกันสังคมอาจมีข้อจำกัดในการต่อรองค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องพิจารณาข้อเรียกร้องเพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการได้ต่อเนื่อง หากไม่ดำเนินการ อาจเสี่ยงที่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งถอนตัวจากระบบ

นอกจากนี้ คุณชลิตยังเชื่อมโยงกับความสำคัญของ Open Data โดยระบุว่า การมีข้อมูลมาตรฐานกลางด้านการรักษาพยาบาล ราคา และอุปกรณ์การแพทย์ จะช่วยให้การบริหารค่าใช้จ่ายมีประสิทธิภาพ รวมถึงข้อมูลการเบิกจ่ายที่โปร่งใส ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อการเจรจา 

หากไม่มีข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้ยากต่อการตรวจสอบและควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล โดยกังวลว่าหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ อาจกระทบต่อสถานะกองทุนประกันสังคมในระยะยาว

ทำอย่างไรถึงจะได้ข้อมูลเปิด ?

คุณชลิต เสนอแนะแนวทางการเปิดเผยข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปิดเผยข้อมูลการประชุม ข้อมูลการลงทุน (อาจมีระยะเวลาหน่วงเพื่อป้องกันผลกระทบต่อตลาด) และข้อมูลการรักษาพยาบาล 

คุณชลิตยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เพื่อให้ได้ผู้แทนที่เข้าใจและผลักดันเรื่อง Open Data อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและติดตามการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม และภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี (Tech Company) ที่อาจมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

ถ้าเราปิดข้อมูล... เราไม่มีทางเกิด


คุณชลิต แสดงความกังวลต่ออนาคตของ Open Data ในไทย

หมายเหตุ: บทความนี้เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์คุณชลิต รัษฐปานะ ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองและความคิดเห็นส่วนบุคคล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...