ห่วงโซ่อุปทานอินเดีย-อาเซียนเนื้อหอม ขึ้นแท่นตัวเลือกหลักที่น่าจับตาหวังลดพึ่งพาจีน-สหรัฐฯ

อินเดีย-อาเซียนเนื้อหอม ผู้นำธุรกิจทั่วโลกฝากความหวังเป็นห่วงโซ่อุปทานในอนาคต หลังความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจจีนและสหรัฐย่ำแย่ลง 

การสำรวจล่าสุดของ PwC ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยอินเดียและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นสองหมุดหมายสำคัญ ในฐานะทางเลือกใหม่และที่มั่นสำคัญในอนาคต เนื่องจากผู้นำธุรกิจต้องการปรับสมดุลครั้งใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน 

อินเดียและอาเซียนมาแรงในตลาด Supply Chain

ปัจจุบันผู้นำห่วงโซ่อุปทานโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน เยอรมัน อินเดีย ญี่ปุ่น และ อาเซียน ตามลำดับ และจากการสำรวจความคิดเห็นโดยบริษัทจัดการสินทรัพย์ Eastspring Investments ชี้ว่าในอีกสิบปีข้างหน้า อินเดียจะมีบทบาทและความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก และขยับขึ้นเป็นอันดับที่สามแซงหน้าเยอรมัน  และอาเซียนจะแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นอันดับห้า

ถึงจะให้ความสำคัญกับอินเดียและอาเซียนมากขึ้น แต่ธุรกิจยืนยันจะไม่ทิ้งจีนและสหรัฐ แม้จะมีการหารืออย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงและการกระจายตัวออกจากห่วงโซ่อุปทานจีน เนื่องจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอและความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา 

ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจได้มีส่วนผลักดันให้บริษัทหลายแห่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาตลาดเดียวมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การสำรวจผู้นำธุรกิจทั่วโลกชี้ให้เห็นว่าจีนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลกต่อไป บริษัทต่างๆ จะไม่ลดลำดับความสำคัญหรือเพิ่มการมุ่งเน้นไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้

แล้วทำไมต้องอินเดียและอาเซียน ?

อินเดียและอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีประชากรจำนวนมาก โดยอินเดียมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน ในขณะที่อาเซียนมีประชากรมากกว่า 650 ล้านคน ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต จึงสามารถสร้างโอกาสในการสร้างกำไรให้กับบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในภูมิภาคได้ 

โดยอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการปรับสมดุลห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่อินเดียจะได้รับประโยชน์จากภาคการผลิตอิเล็กทรอนิกส์  เภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์

ปรับสมดุล Supply Chain: ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสเติบโต

การศึกษายังเผยให้เห็นอีกว่า ผู้บริหารกว่า 47% เชื่อว่าการเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของธุรกิจ โดย 75% เชื่อว่าการปรับสมดุลห่วงโซ่อุปทานใหม่จะช่วยลดต้นทุนลง มากกว่าความเป็นไปได้ที่จะมีกำไรหากเสี่ยงไม่ปรับสมดุล

นอกจากนี้การที่ไม่ปรับสมดุลยังอาจทำให้กำไรกว่า 19% ถึง 24% ตกอยู่ในความเสี่ยงในอีกสิบปีข้างหน้าซึ่งจะแตกต่างกันไปตามภาคธุรกิจ และ 29% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าการปรับสมดุลใหม่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง

"ผู้นำในแต่ละธุรกิจต่างให้ความสำคัญอย่างมากถึงความจำเป็นในการปรับสมดุล Supply Chain ของตน และทำให้บริษัทมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันจากภายนอกได้มากขึ้น และสร้างโอกาสในการเติบโตที่สำคัญสำหรับตลาดหลักๆ เพื่อดึงดูดการลงทุน และเพิ่มบทบาทใน Value Chain ระดับโลกได้” Sidharta Sircar พันธมิตรของ PwC Singapore ผู้เชี่ยวชาญด้านการเติบโตในระดับสากลกล่าว

อ้างอิง: nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...