ธนาคารมี เฮ แบงก์ชาติไฟเขียว e-KYC ต้นปี ไม่ต้องรอพรบ. National Digital ID

เป็นข่าวที่สายการเงินการธนาคาร และอีกหลายธุรกิจที่กำลังรอคอยทิศทางของ e-KYC ในไทย ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมากล่าวว่าเตรียมอนุญาตสถาบันการเงินที่เข้าทดสอบระบบการแสดงและยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือที่เรียกว่า e-KYC ได้ออกจาก Regulatory Sandbox ในช่วงไตรมาสแรกปี 2562

และที่น่าสนใจต่อจากนั้นคือสามารถให้บริการกับลูกค้าได้เลย โดยไม่ต้องรอให้ร่าง พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลบังคับใช้ก่อนด้วย โดยการนำระบบ e-KYC ไปใช้นั้นส่วนใหญ่คือเริ่มใช้กับการเปิดบัญชีธนาคาร อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการเชื่อมโยงข้ามผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน ด้านประกัน ยังต้องรอกฏหมายดังกล่าวบังคับใช้ก่อน นั่นแปลว่าเราจะมีโอกาสได้เห็นการนำ e-KYC ไปใช้ในธุรกรรมพื้นฐานของทางธนาคารกันเร็วๆ นี้

ซึ่งข่าวนี้เป็นการออกมาให้ข้อมูลกับทางประชาชาติธุรกิจโดยนางสาวสิริธิดา พรมวัน ณ.อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. ในขณะที่นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในปี 2562 หากไม่ใช่บริการทางการเงินที่จะเป็นมาตรฐานกลาง ก็จะเปิดให้ธนาคารแต่ละแห่งสามารถทดสอบใน Sandbox ของตัวเองได้ ไม่ต้องมาทดสอบใน Sandbox ของ ธปท.

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...