IMF กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายเหรียญ CBDC แต่เจอกระแสตีกลับจากชุมชนคริปโต

กองทุนเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กำลังพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสำหรับเงินดิจิทัลอย่าง CBDC แต่โดนกระแสโต้กลับจากชุมชนชาวคริปโตอย่างรุนแรง

IMF พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับ CBDC แม้จะมีกระแสโจมตี

ในการประชุมหารือเกี่ยวกับ CBDC เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา Tobias Adrian ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและตลาดทุนของ IMF นำเสนอแนวคิดแพลตฟอร์มแบบใหม่ สำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดนโดยมีพิมพ์เขียวของระบบการชำระเงินที่ใช้ บัญชีแยกประเภทเพื่อบันทึกธุรกรรม CBDC 

แพลตฟอร์มนี้มีชื่อว่า XC Platform โดย Tobias Adrian กล่าวว่า จะมีบัญชีแยกประเภทที่สามารถ แลกเปลี่ยนเงินสำรองของธนาคารกลางในรูปแบบดิจิทัลและแลกสกุลเงินใดก็ได้   

แม้ว่า IMF จะมีความต้องการพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสำหรับ CBDC แต่ในมุมมองของกลุ่มชุมชนชาวคริปโตกลับมองว่าเป็นการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง

ความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชุมชนคริปโตมองว่า CBDC จะทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถควบคุมเงินของ แต่ละบุคคลได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากรัฐสามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ทั้งหมดและสามารถอนุญาตให้ IMF ระงับการเข้าถึงเงินของแต่ละบุคคลได้ทุกเมื่อตามที่ต้องการ

ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษา CBDC เช่นกัน

ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีการศึกษาและทดลอง CBDC เช่นกัน โดยทำ 2โครงการใหญ่อย่าง mBridge และ Retail CBDC 

โดยโครงการ Retail CBDC หรือ การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนมีการทดสอบด้วยการทดสอบทั้งหมด 2 ประการคือ

1. Foundation Track การทดสอบระดับพื้นฐาน เพื่อศึกษาการใช้งานการรับแลกหรือใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการในวงจำกัด จำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 10,000 คน ยังไม่ใช้จริงในวงกว้าง

2. Innovation Track การทดสอบระดับนวัตกรรม เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาต่อยอดการใช้งาน ในกรณีต่าง ๆ โดยแบงก์ชาติเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน startup หรือนักพัฒนาเข้าร่วมทดสอบ

ซึ่งโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วลากยาวจนถึงธันวาคมปีนี้จากนั้นการประเมินผลการ ทดสอบตั้งแต่กลุ่มขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ 

ในส่วนของโครงการ mBridge หรือ Multiple Currency CBDC Bridge เป็นการพัฒนา Wholesale CDBC เพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยทำการศึกษาร่วมกับ ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) สถาบันศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBC DCI) ธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (CBUAE) และศูนย์พัฒนานวัตกรรมของธนาคาร เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BISIH) จากฮ่องกง

ที่มา : Cointelegraph, ธนาคารแห่งประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...