เปิดคำให้การ 3 บริษัทเทค Facebook Google Twitter ยื่นสภาคองเกรส จะกำจัด Fake News บนแพลตฟอร์มอย่างไร

Mark Zuckerberg จาก Facebook,  Jack Dorsey จาก Twitter และ Sundar Pichai จาก Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google  เตรียมให้ปากคำต่อสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ในประเด็น fake news ที่มีการเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม รวมถึงจะมีการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองบริษัทเทคจากการที่มีผู้ใช้ปล่อย fake news บนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน 

fake news

ก่อนหน้านี้ CEO ทั้ง 3 คนนั้นได้มีการยื่นคำให้การแบบลายลักษณ์อักษรไปให้แก่คณะกรรมาธิการพลังงานและพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา โดยฝั่งของ Facebook  และ Twitter  นั้นได้ยื่นไปในประเด็นที่ว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ของพวกเขาส่งผลต่อสังคมในวงกว้างอย่างไรบ้าง

สำหรัยการเข้าให้ปากคำต่อสภาคองเกรสในครั้งไม่ใช่ครั้งแรกของเหล่าผู้บริหารจากบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่ เพราะถ้าหากนับแค่ Mark Zuckerberg คนเดียวนั้นก็ถือเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ส่วน Jack Dorsey และ Sundar Pichai เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่กรกฎาคมปีที่แล้ว เรามาดูกันว่าในครั้งนี้ทั้ง 3  บริษัทเทคได้ยื่นคำให้การอะไรให้กับสภาคองเกรสในการพิจารณาประเด็น fake news

Mark Zuckerberg จาก Facebook

สำหรับ  Mark Zuckerberg เขาต้องการจะชี้แจงว่าพวกข้อมูลเท็จต่าง ๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Facebook จะมีเพียงแค่ 6% เท่านั้นที่ผู้ใช้งานในสหรัฐจะเห็นในกระดานข่าว และในส่วนของข้อมูลที่มีเนื้อความเกี่ยวกับความเกลียดชังมีจำนวนเพียง 0.08% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก ๆ บนกระดานข่าวของ Facebook

โดยทาง Facebook ได้ร่วมมือกับสำนักข่าวท้องถิ่น และหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ในการเผยแพร่ข่าวสารสำคัญ ๆ อย่างการเลือกตั้ง และ COVID-19 อีกทั้งยังมีการใช้งาน fact-checkers ในการตรวจจับโพสต์ เพจ หรือกลุ่มที่ให้ข้อมูลเป็นเท็จอีกด้วย

นอกจากนี้ Zuckerberg ยังมีแผนที่จะอธิบายการลบข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเกลียดชังออกจากแพลตฟอร์ม Facebook ซึ่งมี 250 กลุ่มเกี่ยวกับกลุ่มชาตินิยมขวาจัดอย่าง กลุ่ม White supremacist และลบ 890 คอนเท้นต์ที่เกี่ยวข้องกับการทหาร รวมถึงกลุ่ม Proud Boys 

ท้ายที่สุด Zuckerberg จะมีการเสนอให้สภาคองเกรสพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎหมายคุ้มครองบริษัทโซเชียลมีเดีย ที่บริษัทโซเชียลมีเดียที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่โพสต์โดยผู้ใช้งาน โดยจะต้องมาโฟกัสที่ความโปร่งใส และเอื้อให้บริษัทในการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ และผิดกฎหมายมากกว่า

Jack Dorsey จาก Twitter

ในฟากของ Twitter ทาง Jack Dorsey ก็เตรียมที่พูดในประเด็นของ ความไว้ใจต่อแพลตฟอร์ม (Trust deficit) ในคำให้การแบบลายลักษณ์อักษรทาง Dorsey ได้แจ้งว่าทาง Twitter จะสนับสนุนเรื่องความโปร่งใส่ และยุติธรรม อีกทั้งจะให้ผู้ใช้งานเป็นคนจัดการเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคลได้เอง 

และตอนนี้ Twitter ก็กำลังทำโปรเจกต์ที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการจัดการข้อมูลเท็จบนแพลตฟอร์ม โดยมี  Birdwatch ที่เป็นโปรแกรมนำร่อง โดยผู้ใช้งานสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้บนทวีตที่พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ หรือเป็นข้อมูลที่ผิด และมีโปรเจกต์ Bluesky ที่จะเปิดให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทุกคนมี Decentralized standards ในการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ 

Sundar Pichai จาก Google

ส่วน Google นั้น ทาง Pichai ได้มีการลงทุนกับทางนักข่าว แหล่งข้อมูล รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ให้มานำเสนอข่าว ทั้งเรื่องการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 และเรื่องของ COVID-19 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ 

สำหรับการปรับปรุงกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร (Communications Decency Act) มาตรา 230 ที่ทั้ง Pichai และ Zuckerberg ให้ความสำคัญนั้น ทาง Google มองว่าการเปลี่ยนแปลงที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้นั้นมันอาจจะส่งผลกระทบด้านลบ จะทำให้แพลตฟอร์มขาดความรับผิดชอบ และไม่สามารถควบคุมดูแลข้อมูลเท็จต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มได้

ทั้งนี้ Pichai ได้เสนอว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ ควรจะโฟกัสเรื่องความโปร่งใส่ และความเป็นธรรมกับนโยบายของตัวเอง และยังกล่าวว่า สำหรับ Google เองก็ให้ความสำคัญเรื่องความโปร่งใส่ในการให้บริการ และต้องการจะให้ทั้งอุตสาหกรรมนี้ทำแบบนี้เช่นกัน

อ้างอิง: CNBC


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...