จุฬาฯ รับอาสาสมัคร ร่วมทดลองวัคซีน ChulaCov19 ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA

จุฬาฯ ประกาศรับสมัครอาสาสมัครสุขภาพดี ร่วมโครงการทดลองฉีดวัคซีนจุฬาคอฟ 19 (ChulaCov19) จำนวน 2 เข็ม เพื่อหาปริมาณวัคซีนที่เหมาะสมและประเมินความปลอดภัยในการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

chulacov19 สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครสุขภาพดี กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 18-55 ปี และกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 65-75 ปี การศึกษาทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะที่ 1 ต่อเนื่องระยะที่ 2 เพื่อหาขนาดปริมาณวัคซีนที่เหมาะสม และประเมินความปลอดภัยในการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนจุฬาคอฟ 19 ของกลุ่มผู้ใหญ่สุขภาพดี

โดยอาสาสมัครต้องฉีดวัคซีนทั้งหมด 2 เข็ม  เมื่อฉีดเข็มแรกแล้ว จะฉีดเข็มที่ 2 โดยเว้นระยะห่างกัน 21 วัน หลังจากนั้นจะมีการติดตามอาการผ่านทางโทรศัพท์ 4 ครั้ง และติดตามผ่านการมาพบที่ศูนย์วิจัยจุฬาฯ 8 ครั้ง รวมระยะเวลา  1 ปี วัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนต้านไวรัส COVID-19  ด้วยเทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับ Pfizer-BioNtech และ Moderna ของสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการทยอยฉีดให้กับประชากรทั่วโลก สำหรับของประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยทีมคนไทยเอง ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จในการทดลองในหนู โดยวัคซีนสามารถป้องกันโรค COVID-19 และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมากในหนูทดลอง อีกทั้งวัคซีน ChulaCov19 สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ  2-8 องศาเซลเซียส อย่างน้อยหนึ่งเดือน 

สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน mRNA ของจุฬาฯในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย

ท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครสามารถสมัครได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หากผ่านเกณฑ์ทางจุฬาจะติดต่อกลับไปอีกครั้ง



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...