จุฬาฯ เริ่มทดลองฉีดวัคซีน ChulaCov19 ให้อาสาสมัครรายแรกแล้ว

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มต้นทดลองฉีดวัคซีน ChulaCov19 ให้กับอาสาสมัครสุขภาพดี กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 18-55 ปี จำนวน 36 คน และกลุ่มผู้สูงวัย อายุ 65-75 ปี จำนวน 36 คน รวมทั้งสิ้นทดลองกับอาสาสมัคร 72 คน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรก

ในการทดลองฉีดระยะแรกนี้ จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยในการรับวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่าวัคซีน ChulaCov19 มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร เนื่องมาจากปัจจุบัน Moderna มีการใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม และ Pfizer-BioNtech ใช้ 30 ไมโครกรัม ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับ ChulaCov19 หลังจากทราบปริมาณที่เหมาะสมกับคนไทยแล้ว จึงจะเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกระยะที่ 2 

โดยการทดลองในครั้งนี้ เป็นทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ที่ทดสอบกับมนุษย์ หลังประสผลสำเร็จในการทดลอง โดยสามารถยับยั้งเชื้อ และสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง ส่วนระยะที่ 2 จะทำการทดสอบกับคนจำนวน 150-300 คน โดยคาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

สำหรับการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เอกชน พร้อมด้วยภาคประชาชน ทั้ง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...