COVID-19 กับโลกดิจิทัลขนาดเล็กที่เราอาศัยอยู่ โดย อริยะ พนมยงค์

ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติในตอนนี้ ทำให้เราหลาย ๆ คนนั้นต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ออกไปที่ไหน และใช้เวลาส่วนมาก (ที่มากเกินไป) บน Social Network ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นให้ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมานั้นคือ โพสต์เกี่ยวกับ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นบทความหรือการคาดการณ์สถานการณ์หลัง COVID-19 ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นความคิดเห็นแบบเอนเอียงและเป็นแค่ความคิดเห็นธรรมดาที่เราหลาย ๆ คนนั้นอยากจะแบ่งปันว่าเรารู้สึกอย่างไรเท่านั้น

ผมขอเกริ่นก่อนว่า ผมนั้นคุ้นเคยกับโลกของเทคโนโลยีและดิจิทัล ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากจะแชร์กับทุกคนในวันนี้คือเรื่องของอันตรายและคำเตือนต่อการใช้ชีวิตของเราบนสื่อ Social Network อย่างที่กล่าวมา ชีวิตบน Social Network นั้น ‘ไม่ใช่’ โลกจริง ๆ ของเรา แต่เป็นสับเซตที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตของคุณและเพื่อนของคุณผ่าน Facebook และยังแสดงให้เห็นถึงโลกผ่านเลนส์ของเพื่อน 500 คนบน Facebook ของคุณเท่านั้น

สิ่งที่คุณเห็นบนฟีดในทุก ๆ วันนั้นก็มาจากเพื่อน 500 คนเหล่านี้ของคุณ รวมถึงอัลกอริทึมของ Facebook ที่จะแสดงอะไรก็ตามแต่ให้คุณเห็น อาศัยจากการเชื่อมต่อเครือข่ายของคุณ ข้อมูลของคุณ พฤติกรรมของคุณ และความชอบของคุณ

ซึ่ง ‘โลก’ ใบนี้ที่คุณเห็นนั้นถูกสร้างขึ้นมาตามข้อมูลของคุณ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงโลกของคนไทย 68 ล้านคน เพื่อนจำนวนกี่คนของคุณนั้นกลับบ้านเกิดเมื่อรัฐบาลประกาศล็อคดาวน์เพราะเขาไม่มีตัวเลือกอื่น? เพื่อนจำนวนกี่คนบน Facebook ของคุณนั้นสามารถที่จะเข้าร่วมโครงการเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทจากรัฐบาลได้? และเพื่อนจำนวนกี่คนบน Facebook ของคุณนั้นกำลังจะตกงาน? 

พวกเราส่วนใหญ่และพวกคุณส่วนใหญ่นั้นอยู่ในกลุ่มคนที่ถือว่าโชคดี ที่สามารถจะอยู่รอดในช่วง COVID-19 นี้ หลาย ๆ คนก็ยังมีสถานการณ์ทางการเงินที่ยังไปได้ดี มีบ้านที่สามารถจะกักตัวในช่วงล็อคดาวน์ มีของเล่นต่าง ๆ ที่จะเล่นเพื่อฆ่าเวลา และยังมีมื้ออาหารที่สามารถร่วมรับประทานกับครอบครัวได้อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด การเล่นหรือใช้สื่อออนไลน์ไม่ใช่สิ่งที่ผิด ตราบใดที่คุณจำไว้ว่าสิ่งที่คุณเห็นนั้น ไม่ได้แสดงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างบนโลก เราถูกป้อนสื่อต่าง ๆ จากเพียงด้านเดียว ไม่ว่าจะเป็นโพสต์, ความคิดเห็น, บทความ หรือคอมเมนต์ต่าง ๆ เพราะว่าคุณนั้นก็แสดงออกบนสื่อพวกนี้เพียงด้านเดียวเช่นกัน แน่นอนว่าตอนนี้ยอดสมัครสมาชิก Netflix นั้นเพิ่มขึ้นมากจากฟีดของใครหลาย ๆ คน แต่เชื่อผมว่าในตอนนี้ คนไทยมากกว่า 10 ล้านคนไม่มีกำลังเงินพอที่จะสามารถสมัคร Netflix และดูซีรีส์เรื่องดังอย่าง “Itaewon Class” และซีรีส์เกาหลีเรื่องอื่น ๆ ได้

ทำไมผมถึงตัดสินใจเขียนบทความแรกนี้ขึ้นมา? ผมอยากจะให้สถานการณ์ COVID-19 นี้ผ่านไปเร็ว ๆ เหมือนกับทุก ๆ คน และผมก็อยากที่จะเห็นความคิดเชิงบวกต่าง ๆ เช่น การที่สถานการณ์นี้จะผ่านพ้นไปในวันหนึ่ง, การที่เราจะผ่านมันไปด้วยกัน, ความสามารถในการปรับตัว, การที่คนหลาย ๆ คนจะรอดไปได้, การนำดิจิทัลเข้ามาใช้ และการเกิด New Normal…  และอีกครั้ง พวกเรานั้นถือว่าอยู่ในกลุ่มคนที่โชคดีที่สุด ผมนั้นเชื่อว่าความเป็นจริงของเราหลาย ๆ คนนั้นจะต่างกัน หลาย ๆ ธุรกิจจะปิดตัวลง เช่น ร้านอาหาร, ร้านค้า, ธุรกิจขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งธุรกิจใหญ่ ๆ เช่นกันที่จะไม่สามารถอยู่รอดได้ถึง 2 เดือนนี้ คนไทยมากกว่า 7 ล้านคนจะตกงาน (คิดเป็น 18.5% ของแรงงานทั้งหมด) และเมื่อ COVID-19 จบลง แน่นอนว่าชีวิตของพวกเรานั้นจะไม่กลับมาสู่ภาวะปกติเช่นเดิม และจะเกิดสิ่งที่หลาย ๆ คนนั้นเรียกว่า ‘New Normal’ มันจะไม่เป็นแบบที่เราทุกคนนั้นต้องทำงานจากที่บ้าน หรือแบบที่ทุกอย่างถูกปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล มันจะเป็นโลกที่ยากลำบาก ที่ทุกคนนั้นต้องทำงานหาเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และต้องใช้จ่ายให้น้อยลง ซึ่งในตอนนี้ GDP ของไทยนั้นคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ -6.7% ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมพร้อมสำหรับความจริงที่จะเกิดขึ้น หรือไม่เช่นนั้นก็จะต้องเจ็บปวดกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ในภายภาคหน้า

   จงหวังถึงสิ่งที่ดีที่สุด และเตรียมตัวสำหรับสิ่งที่แย่ที่สุด

COVID-19 เป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก แต่สิ่งที่จะตามมานั้นจะเลวร้ายกว่าตอนนี้ 3,900 เท่า ในตอนนี้ การระบาดของ COVID-19 นั้นได้แพร่สู่ประชากร 2 ล้านคนทั่วโลก แต่วิกฤติเศรษฐกิจนั้นส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากถึง 7.8 พันล้านคนทั่วโลก… ดังนั้นโลกของเราจะไม่เหมือนเดิมอย่างแน่นอน แต่มันจะไม่เป็นเหมือนสิ่งที่คุณคิด

อย่าเข้าใจผิดว่าโลกโซเชียลนั้นคือโลกทั้งใบของคุณ และจงอย่าลืมที่จะเพิ่มมุมมองบางอย่างกับสิ่งที่เราอ่านบน Social Network อยู่เสมอ

บทความนี้แปลจากบทความที่เขียนขึ้นโดยคุณอริยะ พนมยงค์: https://techsauce.co/en/news/ariya-banomyong-covid-and-digital-micro-world#




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...