รายงานการจัดหาวัคซีน COVID-19 เผยไทยจองแล้วครอบคลุม 19% พร้อมความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนา

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ความคืบหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีน COVID-19 ว่าขณะนี้มีวัคซีน COVID-19 หลายชนิดที่ผ่านขั้นตอนการทดสอบในมนุษย์จนแน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงพอ และได้รับอนุมัติในหลายประเทศทั่วโลกแล้ว ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประมาณ 9 ประเทศทั่วโลก รวมจำนวนมากกว่า 4.4 ล้านโดส

โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มฉีดวัคซีนในประชากรครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ซึ่งใช้แล้วจำนวนกว่า 1.94 ล้านโดส จากที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนของ Pfizer/BioNtech จำนวน 5.1 ล้านโดส และวัคซีนของ Moderna จำนวน 6 ล้านโดส ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดจะต้องให้ในปริมาณคนละ 2 โดส ผลการทดสอบมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าร้อยละ 95

ในส่วนการจัดหาและเตรียมใช้วัคซีน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ทำความตกลงจองวัคซีนล่วงหน้าจากผู้ผลิตแต่ละรายไปแล้ว จำนวนรวม 8,150 ล้านโดส ซึ่งครอบคลุมประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรโลก (วัคซีนส่วนใหญ่ให้คนละ 2 โดส เท่ากับมีการจองวัคซีนแล้วสำหรับประมาณ 4,075 ล้านคน) โดยทะยอยการส่งมอบตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงปี พ.ศ. 2565

AstraZeneca เป็นบริษัทลำดับแรกๆ ที่บรรลุข้อตกลงการจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าสำหรับประชากรโลก ซึ่งขณะนี้มียอดจองแล้วมากที่สุด เท่ากับประมาณ 1,460 ล้านคน มากกว่าวัคซีนของบริษัทอื่นๆ กว่าสองเท่า ในขณะที่วัคซีนบางชนิดก็ไม่ผ่านการทดสอบ เช่น วัคซีนของประเทศออสเตรเลียที่ต้องยกเลิกการทดสอบในวันที่ 10 ธันวาคม 2563 และในวันต่อมา Sanofi และ GlaxoSmithKline ก็ประกาศชะลอการทดสอบวัคซีนเช่นกัน

วัคซีนโรคโควิด-19 กำลังออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ ซึ่งโดยปกติการพัฒนาวัคซีนจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องมาจากทั่วโลกได้สนับสนุนการเร่งวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลายรูปแบบพร้อมๆกัน และร่นระยะเวลารอยต่อในช่วงการทดสอบแต่ละขั้น ช่วงการผลิต และการขึ้นทะเบียนให้สั้นลง  ศ.นพ.สิริฤกษ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "จำนวนวัคซีนที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ผลิตแต่ละรายได้เพิ่มจำนวนการผลิตขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะมีวัคซีนเพียงพอสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงภายในต้นปีหน้า และในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 คนส่วนใหญ่ที่ควรจะต้องได้รับวัคซีนจะเข้าถึงวัคซีนนี้ได้"

กลยุทธการเข้าถึงวัคซีนของแต่ละประเทศมีหลากหลายวิธี เช่น ใช้วิธีทำข้อตกลงแบบทวิภาคีกับผู้ผลิตแต่ละราย หรือในขณะที่หลายสิบประเทศทำข้อตกลงในรูปแบบพหุภาคีผ่านกลไก COVAX หรือผ่านองค์การอนามัยโลก เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียม  อย่างไรก็ตามยอดการสั่งจองวัคซีนล่วงหน้าของแต่ละประเทศแตกต่างกัน เช่น แคนาดาซึ่งมีประชากร 38 ล้านคน มีสัญญาสั่งจองวัคซีนกับบริษัทอย่างน้อย 7 แห่งเพื่อจัดหาวัคซีนให้เพียงพอสำหรับฉีดได้ 112 ล้านคน ซึ่งเป็น 3 เท่าของประชากรประเทศหลายเท่า รวมทั้งสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก ได้สั่งจองวัคซีนแล้วมากกว่าจำนวนประชากร ในขณะที่ประเทศอื่นๆส่วนใหญ่มียอดจองวัคซีน 0-20% ของประชากร เป็นต้น

ประเทศไทยได้จองวัคซีนแล้ว จำนวน 26 ล้านโดส และรัฐบาลกำลังดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับวัคซีนจำนวนเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอกับทุกคน ทั้งโดยการผลิตในประเทศ จัดหาจากผู้ผลิตแต่ละราย และวิจัยพัฒนาวัคซีนในประเทศด้วย

"กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องวัคซีนอย่างใกล้ชิดทุกวันโดยประสานงานกับ ศบค. และกระทรวงสาธารณสุข ดูแลสนับสนุนทางด้านวิชาการ การวิจัย และเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ซึ่งความสำเร็จของพัฒนาวัคซีนโรคโควิดของทั่วโลกอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์นี้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก วัคซีนแต่ละชนิดที่ผ่านการประเมินนั้น มีประสิทธิภาพดี ทดสอบแล้วมีความปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ และป้องกันการติดเชื้อได้ดี รวมทั้งนักวิจัยทั่วโลกยังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด การกลายพันธุ์ของเชื้อ และจะพัฒนาวัคซีนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย" ปลัดกระทรวง อว. กล่าว

อ้างอิง : ข้อมูลจากกระทรวง อว. , Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...