CP และ BTS ตั้งกิจการร่วมค้ายื่นประมูล "รถไฟฟ้าความเร็วสูง" เชื่อม 3 สนามบิน

สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดรับซองเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา จำนวน 2 ราย ได้แก่ "กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์" และ "กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร"

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้ามักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง, สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 31 ราย

หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาในวันนี้ ซึ่งมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

  1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
  2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โดยต้องยื่นเอกสารประกอบ 4 อย่างด้วยกัน ได้แก่ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือมอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น) , รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร) ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ

อีกทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...