Digital Ventures ขยายการลงทุนระดับโกลบอลใน PayKey และ IndoorAtlas

ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้การดำเนินงานของ Digital Ventures บริษัทในเครือด้านการลงทุนและการค้นคว้านวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ ประกาศการลงทุนใน PayKey ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่าน Social Network จากอิสราเอล และ IndoorAtlas ผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุพิกัดตำแหน่งในพื้นที่ในร่มจากฟินแลนด์ นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการขยายฐานความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ผ่านการสร้างเครือข่ายอันแข็งแกร่งกับสตาร์ทอัพระดับโลก พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคต

นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า “การร่วมลงทุนใน PayKey และ IndoorAtlas ถือเป็นก้าวสำคัญของดิจิทัล เวนเจอร์ส ในการดำเนินกลยุทธ์การขยายขอบข่ายทางเทคโนโลยีสำคัญอย่าง Blockchain , Big Data , AI   และระบบระบุพิกัดอัจฉริยะ ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างมากสำหรับโลกธุรกิจและบริการทางการเงิน ทั้งในอนาคตอันใกล้และในระยะยาว นอกจากนี้ การลงทุนดังกล่าวยังเป็นโอกาสสำคัญในการต่อยอดธุรกิจในกลุ่มประเทศนอร์ดิก และประเทศอิสราเอล ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์  ซึ่งเป็นตลาดสำคัญด้านฟินเทคและเทคโนโลยีหลักมากมาย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของเรา คือ การเฟ้นหาและเรียนรู้จากเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด และมีบทบาทสำคัญที่สุดในโลกธุรกิจจากทั่วโลก เพื่อนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมถึงการยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ และลูกค้าองค์กรของธนาคาร

ปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ขยายเครือข่ายการลงทุนด้านฟินเทคและนวัตกรรมครอบคลุมทั้งในเอเชีย สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และอิสราเอล

เกี่ยวกับ PayKey

PayKey คือสตาร์ทอัพจากประเทศอิสราเอล เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มปฏิวัติการชำระเงินรูปแบบใหม่บนคีย์บอร์ดของอุปกรณ์สื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าธนาคารต่าง ๆ สามารถโอนเงินผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คที่หลากหลาย เช่น Facebook, LINE, WhatsApp, WeChat, Skype และอื่น ๆ โดยเชื่อมโยงเข้ากับแอพพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของธนาคาร ทำให้ผู้ใช้สามารถโอนเงิน หรือชำระเงินได้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพกว่าที่เคย พร้อมได้รับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมเหมือนการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ขณะนี้ธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ในช่วงของการศึกษาและพัฒนาบริการ

เกี่ยวกับ IndoorAtlas

IndoorAtlas คือผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุพิกัดตำแหน่งในพื้นที่ในร่ม (Indoor Positioning System หรือ IPS)  มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง Baidu ในจีน และYahoo! Japan ในญี่ปุ่น เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรของ IndoorAtlas จะระบุตำแหน่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนแบบเรียลไทม์โดยใช้แม่เหล็กที่ติดตั้งอยู่แล้วในสมาร์ทโฟน จึงสามารถนำมาใช้ในการตลาดประเภท Proximity Marketing ช่วยให้ร้านค้าและธุรกิจสามารถนำเสนอข้อมูลโปรโมชั่นพิเศษให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการในอาคารศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม สนามบิน ฯลฯ แบบเรียลไทม์ โดย ดิจิทัล เวนเจอร์ส ได้ใช้เทคโนโลยีนี้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Chatuchak Guide ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สร้างหน้าร้านออนไลน์ให้กับร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อในการค้นหาข้อมูลร้านค้า ช่วยนำทางให้ลูกค้าสู่ร้านค้า ตลอดจนรับข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ จากร้านค้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานแล้ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...