สรุปดีเบต และโนยบายด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากทรัมป์ และแฮร์ริส

การเลือกตั้งสหรัฐฯ กำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลก ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีดีเบทครั้งแรกระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ที่เดือดพล่านตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจที่ทั้งสองฝ่ายต่างงัดนโยบาย และวาทะเด็ดมาห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด 

ทั้งสองคนนี้พูดอะไร หรือมีนโยบายอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจบ้าง ? Techsauce ขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจไว้ดังนี้

การค้าระหว่างประเทศ

ทรัมป์ : สนับสนุนการขึ้นภาษีนำเข้า (tariff) สินค้าจากต่างประเทศ โดยมองว่าเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมและแรงงานในสหรัฐฯ เขาเสนอให้ขึ้นภาษีสินค้าต่างประเทศ 10-20% และอาจสูงกว่านั้นสำหรับสินค้าจากจีน

แฮร์ริส : วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการค้าของทรัมป์ โดยมองว่าการขึ้นภาษีนำเข้าเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคชาวอเมริกัน เธออธิบายว่าชนชั้นกลางจะเผชิญกับภาระภาษีที่สูงขึ้น โดยภาษีศุลกากร 20% ที่บังคับใช้ในวงกว้างจะมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั่วไปปีละ 4,000 ดอลลาร์

การจ้างงาน

ทรัมป์: อ้างว่าเขาสร้างเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และตำหนิรัฐบาลไบเดน-แฮร์ริส ว่าทำ ให้เกิดการว่างงานสูง

แฮร์ริส: โต้แย้งว่าทรัมป์ทิ้งประเทศไว้ในสภาวะว่างงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) และรัฐบาลไบเดน-แฮร์ริส ได้สะสาง "ความยุ่งเหยิง" ที่ทรัมป์สร้างไว้

*จากข้อมูลของ CNN ระบุว่า อัตราว่างงานหลังจากทรัมป์ออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2021 อยู่ที่ 6.4% ต่างจากปี 2020 ที่มีอัตราว่างงานสูง 14.8% เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นอัตราว่างงานสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1939 ตามการบันทึกของสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ

ภาษี

ทรัมป์: ต้องการลดภาษีเพิ่มเติม โดยเฉพาะการลดภาษีนิติบุคคลจาก 21% เหลือ 15% และยกเว้นภาษีสำหรับทิปและเงินประกันสังคม เขาเชื่อว่าการลดภาษีจะช่วยกระตุ้นการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

แฮร์ริส: วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของทรัมป์ว่าเป็นประโยชน์ต่อคนรวยและบริษัทขนาดใหญ่ เธอเสนอให้ขึ้นภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้สูงและบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการช่วยเหลือครอบครัวชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อย

เธอยังเสนอให้ขยายการหักลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก สนับสนุนการเพิ่มอัตราภาษีนิติบุคคลเป็น 28 เปอร์เซ็นต์จาก 21 เปอร์เซ็นต์ และสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 400,000 ดอลลาร์ต่อปี โดยการฟื้นฟูและขยายเครดิตภาษีเงินได้จากการทำงานและเครดิตภาษีบุตร รวมถึงเครดิตภาษีบุตร 6,000 ดอลลาร์สำหรับปีแรกของชีวิตทารกแรกเกิด

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

ทรัมป์: คัดค้านการยกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่สนับสนุนมาตรการเพื่อรวมแผนการชำระหนี้ตามรายได้

แฮร์ริส: สนับสนุนแผนการยกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของรัฐบาลไบเดนสำหรับผู้กู้หลายสิบล้านคน แต่เธอยังไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่านโยบายของเธอจะเป็นอย่างไรหากได้รับเลือก

สรุปบทบาทของรัฐบาลในเศรษฐกิจ

จากการดีเบทครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทรัมป์เชื่อมั่นในพลังของภาคเอกชน ต้องการให้รัฐบาลมีบทบาทน้อยลงในเศรษฐกิจ สนับสนุนการลดกฎระเบียบ และการลดภาษี ขณะที่แฮร์ริส มองว่ารัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมและโอกาสทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และโครงการช่วยเหลือสังคมต่างๆ 


  อ้างอิง : AP, abcnews, The Washington Post, ft

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...