ข่าวดีสำหรับ Startup เมื่อรองนายกฯ สมคิด ไฟเขียวให้ศึกษาหลักเกณฑ์ตั้งตลาดหุ้น Startup แยกจาก SET และ mai

เพิ่งมีข่าวจากตลาดหลักทรัพย์เมื่อสัปดาห์ก่อนเรื่องการปรับเกณฑ์การรับบริษัทจดทะเบียนเช้าใหม่ทั้ง SET และ mai วันนี้ก็มีข่าวดีจาก รองนายกฯสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สั่งให้ กลต. ใช้เวลา 3 เดือนเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ตั้งตลาดหุ้น Startup ให้ได้ พร้อมเริ่มต้นได้ในปี 60 โดยแยกออกจาก SET และ mai

Somkid_Jatusripitak

จากการที่ธุรกิจ Startup มีทุนจดทะเบียนต่ำ และมีความเสี่ยงสูง ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนให้ธุรกิจ Startup สามารถเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้

โดยการศึกษาจะมีการกำหนดกรอบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสม รวมทั้งต้องกำหนดคุณสมบัติของนักลงทุนที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นประเภทนี้ เพราะต้องรับความเสี่ยงสูง ซึ่งจะต้องศึกษาให้เสร็จภายใน 3 เดือน และดำเนินการปี 2560 ต่อไป โดยมั่นใจว่า หากมีตลาดหุ้น Start Up กลุ่มธุรกิจเกิดใหม่จะตื่นตัวสูงขึ้น และเกิดการระดมทุนมากขึ้น เพราะธุรกิจเหล่านี้ต้องการเงินทุนและการร่วมทุนอีกจำนวนมาก

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ยืนยันพร้อมดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาตลาดทุนอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับกลุ่ม Startup โดยจะมีการหารือกับตลท.และสภาธุรกิจตลาดทุนไทยเพื่อวางหลักเกณฑ์ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...