Burnout ใครว่าเรื่องเล็ก พนักงานหมดไฟ 1 คน บริษัทจะเสียเงินเท่าไหร่?

คุณเคยรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดพลัง และรู้สึกว่าชีวิตการทำงานมันหนักหนาสาหัสเกินไปหรือไม่? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟ หรือ Burnout Syndrome ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่คอยกัดกินสุขภาพกายและใจของเรา แต่มันคือ 'ระเบิดเวลา' ที่ถูกมองความและสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับหลายองค์กรทั่วโลกได้สูงถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

Burnout ภัยเงียบที่ค่อยๆ กลืนกินองค์กร

ตามคำนิยามของ Mayo Clinic ภาวะ Burnout คือภาวะของความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงและการขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งเกิดจากความเครียดสะสมเป็นเวลานาน และถึงแม้ว่า Burnout จะส่งผลเสียต่อสุขภาพส่วนบุคคลของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรืออาการนอนไม่หลับ แต่ยังไม่รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรซึ่งถูกมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง

สาเหตุหลักของภาวะ Burnout

อ้างอิงจากรายงาน SHRM Employee Mental Health เดือนเมษายน 2024 พบว่า 44% ของพนักงานในสหรัฐฯ มีอาการหมดไฟ โดย American Psychological Association ระบุว่าสาเหตุสำคัญซึ่งล่วนเกิดจากสภาวะทำงาน ได้แก่

  1. ขาดการสนับสนุนจากองค์กร
  2. ไม่ได้รับการยอมรับหรือให้รางวัลตอบแทนการทำงาน
  3. ภาระงานที่หนักเกินไป
  4. ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
  5. ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในที่ทำงาน

ต้นทุนมหาศาลที่ไม่อาจมองข้ามจาก Burnout

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Preventative Medicine เมื่อต้นปี 2024 พบว่าภาวะหมดไฟของพนักงานในสหรัฐฯ ทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 ถึง 21,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1.35 - 7 แสนบาทต่อพนักงานหนึ่งคนต่อปี จากการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน วันลาที่เพิ่มขึ้น และคุณภาพงานที่ลดลง

โดยเฉลี่ยแล้วพนักงานทั่วไปทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายราว 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ 1.35 แสนบาทต่อปี ขณะที่ผู้จัดการทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายราว 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3.38 แสนบาทต่อปี และผู้บริหารระดับสูงทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 6.76 แสนบาทต่อปี 

หากองค์กรมีพนักงาน 1,000 คน โดยมีสัดส่วนพนักงานทั่วไป 88% ผู้จัดการ 10% และผู้บริหารระดับสูง 2% ภาวะหมดไฟสามารถสร้างความเสียหายทางการเงินให้กับองค์กรได้สูงถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 169 ล้านบาท ต่อปี หากทุกคนอยู่ในภาวะ Burnout

การศึกษานี้ใช้แบบจำลองเชิงคำนวณที่พัฒนาโดย Public Health Informatics, Computational, and Operations Research (PHICOR) ที่มหาวิทยาลัย CUNY โดยจำลองสถานการณ์ที่พนักงานต้องเผชิญกับปัจจัยความเครียดต่างๆ เช่น ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และแรงกดดันจากองค์กร ซึ่งนำไปสู่ภาวะหมดไฟ

ศาสตราจารย์ Bruce Y. Lee จาก CUNY Graduate School of Public Health and Health Policy กล่าวว่า “แบบจำลองของเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Burnout ของพนักงานส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทและองค์กร ดังนั้น การให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรได้”

งานวิจัยยังพบว่าผลกระทบจาก Burnout สูงกว่าต้นทุนของสวัสดิการด้านสุขภาพถึง 2.9 เท่า และสูงกว่าต้นทุนการฝึกอบรมพนักงานถึง 17.1 เท่า

แนวทางป้องกันและแก้ไขภาวะ Burnout

สำหรับพนักงาน

พนักงานควรลดการเผชิญกับปัจจัยความเครียดในงาน ให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง เช่น การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการจัดลำดับความสำคัญของงาน นอกจากนี้ ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานเพื่อช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน

สำหรับบริษัท

บริษัทสามารถช่วยลดภาวะหมดไฟได้โดยการให้สวัสดิการด้านสุขภาพจิตสำหรับพนักงาน กระจายภาระงานอย่างเหมาะสม และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว

การป้องกันและแก้ไขภาวะหมดไฟไม่เพียงช่วยให้พนักงานมีความสุขและสุขภาพดีขึ้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาวได้อีกด้วย

อ้างอิง: entrepreneur

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...