ประกาศ พ.ร.บ. ดูแล “กิจการธุรกรรมดิจิทัล” รับรองอำนาจ ETDA ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการฯ

  • ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562” ให้ ETDA ทำหน้าที่กำกับดูแล กิจการธุรกรรมด้านดิจิทัล เต็มตัว พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทั้งหมด โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ นั่งเป็นประธานรักษาการณ์
  • ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562” นิยามระบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติ ยอมรับการใช้เอกสารดิจิทัลเป็นหนังสือที่ใช้งานได้ ผู้ประกอบกิจการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาต หากไม่ทำตามอาจติดคุกสูงสุดถึง 3 ปี

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นตัวเรื่องการทำธุรกรรมดิจิทัลไม่น้อย ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาได้มีการประกาศกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 โดยทั้งสองมีใจความที่พาไทยเข้าใกลความจริงสำหรับบริการธุรกรรมดิจิทัลไปอีกขั้น

เริ่มที่ พ.ร.บ. สำนักพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 จะว่าด้วยการยกระดับสำนักธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ขึ้นเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการธุรกิจธุรกรรมดิจิทัล โดยมีสิทธิ์ออกใบอนุญาตประกอบกิจการธุรกรรมดิจิทัล ให้คำแนะนำในฐานะผู้กำกับดูแล รวมถึงมีหน้าที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการบริการในธุรกิจนี้ผ่านการทำ Sandbox เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ

อีกหนึ่งคือ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ซึ่งเพิ่มเติมมาจาก 2 ฉบับแรก ให้ครอบคลุมนิยามการใช้เอกสารดิจิทัล การกำกับดูแลผู้ประกอบการธุรกรรมดิจิทัล รวมถึงบทลงโทษของผู้ฝ่าฝืน โดยเนื้อหาสำคัญมีดังนี้

  • มาตรา 3 ระบุนิยาม ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ ว่าเป็นกระบวนการและตอบสนองที่กระทำต่อข้อมูลโดยอัตโนมัติ ไม่มีบุคคลธรรมดาเข้าไปแทรกแซง
  • มาตรา 8 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ ถ้ามีการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงได้และนำกลับมาใช้โดยความไม่เปลี่ยนแปลง ก็สามารถใช้งานเป็นหนังสือได้
  • มาตรา 13/2 ห้ามมิให้ปฏิเสธความชอบธรรมของเอกสารดิจิทัลเพียงเพราะไม่มีบุคคลธรรมดาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในแต่ละครั้ง
  • มาตรา 32 ผู้ที่จะดำเนินกิจการธุรกรรมดิจิทัลต้องขึ้นทะเบียน โดยหากไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ให้ ETDA เป็นผู้รับผิดชอบขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต
  • มาตรา 33/1 มาตรา 34 และมาตรา 45 ระบุโทษของการทำกิจการธุรกรรมดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือผิดหลักเกณฑ์ โดยสรุปได้ว่ามีโทษปรับสูงสุด 2 ล้านบาท มีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี

ทั้งนี้ พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thumbsup.in.th และ ratchakitcha.soc.go.th [1],[2]

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...