Facebook เตรียมนัดหารือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรณีสกุลเงินใหม่ ‘Libra’

Facebook ได้ทำการขอนัดพูดคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องสกุลเงินใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่าง ‘Libra’ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Facebook กว่า 50 ล้านคนในไทย

คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่า การนัดพูดคุยจะมีกำหนดการออกมาในเร็วๆ นี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทำการจัดเตรียมทีมงานที่จะทำการศึกษาด้าน "stablecoin" ของ Facebook และเอกสารทางการเงิน และทางทีมยังประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านตั้งแต่ด้านบริการชำระเงินไปจนถึงด้านกฏหมาย

ล่าสุด Facebook ได้เข้าพูดคุยกับหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ทั้งธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางสิงคโปร์ซึ่งจัดเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่เข้าพูดคุยเกี่ยวกับแผนการของสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากการเปิดตัวล่าสุดของ Libra โดย Facebook จะเป็นก้าวใหม่ของบริษัทที่จะเข้าสู่การบริการด้านการเงินออนไลน์ โดยจากรายงานของ Facebook ระบุว่า Libra จะสามารถใช้ได้จริงและเข้าไปอยู่ในการเป็นเงินฝากของธนาคาร อีกทั้งได้รับการดูแลจากหน่วยงานรัฐเพื่อทำให้สกุลเงินมีความมั่นคงและใช้ในการลงทุนและชำระได้

ด้วยจำนวนผู้ใช้ Facebook หลายล้านคนและความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการชำระเงินอย่าง Visa คาดว่า Libra จะมีศักยภาพพอสำหรับใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินและขยายการเข้าถึงธนาคาร อย่างไรก็ตามหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกยังคงระมัดระวังการใช้งานต่อไป ประเทศไทยคือหนึ่งในฐานสำคัญของ Facebook ในเอเชีย

คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา กล่าวเสริมว่า “ประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทิลคือเรื่องหลักที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสนใจ เราจะทำการศึกษารูปแบบของสกุลเงิน กลไก และความปลอดภัย เพื่อปกป้องผู้ใช้งานหากเกิดปัญหาขึ้น”

นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับธนาคารกลางในภูมิภาคอื่น ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่และสร้างแพลตฟอร์มสำหรับใช้ร่วมกัน ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยลดความยุ่งยากในการทำธุรกรรมทางการเงินและเสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสกุลเงินใหม่รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือระดับทวิภาคีในการชำระเงินด้วย QR code อีกทั้งในตอนนี้ ประเทศไทยกำลังพัฒนาบริการการชำระเงินข้ามประเทศกับประเทศกัมพูชาซึ่งคาดว่าจะดำเนินการในปีนี้ และบริการนี้ได้เปิดใช้แล้วระหว่างประเทศไทย ลาว และสิงคโปร์

“ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในตอนนี้สำหรับการให้บริการทั่วทั้งภูมิภาค แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ อย่างปัจจัยต่างๆ ของเศรษฐกิจในด้านพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภค, การพัฒนาเศรษฐกิจ, ระบบนิเวศ, กฎระเบียบและกฎหมายดังนั้นมันจะค่อยๆได้รับการพัฒนา" คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา กล่าว

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะอนุญาตให้สถาบันการเงินนำเสนอ e-Know Your Customer (e-KYC) โดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ในการเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ในเดือนนี้ โดยจะมีการเปิดตัวบริการดังกล่าวที่งาน Bangkok Fintech Fair ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2019

อ้างอิง: Bangkokpost

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...