ยาตัวแรกที่ทำโดย AI 100% โดย Startup ด้าน Biotech จากฮ่องกง

Insilico Medicine บริษัท Startup ด้าน Biotech จากฮ่องกงใช้ AI ในการวิจัยและคิดค้นยาที่มีชื่อว่า INS018_055 ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่เรียกว่า โรคพังผืดในปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis - IPF) และจะเริ่มนำมาใช้ทดลองรักษาผู้ป่วยครั้งแรกในสัปดาห์นี้

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) เผยว่า โรคพังผืดในปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ (IPF) เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดแผลเป็นในปอด หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ภายใน 2-5 ปี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้น ดังนั้น มันจึงเป็นก้าวสำคัญของการใช้ AI ในการผลิตยา

Alex Zhavoronkov CEO ของบริษัท Insilico Medicine กล่าวว่า ถึงแม้ว่าในปัจจุบันมียาที่ AI ช่วยวิจัยและทดลองอยู่มากมาย แต่ยา INS018_055 ของบริษัทเป็นยาตัวแรกที่ AI เป็นทั้งผู้ค้นพบวิธีการทำงานของโรคและกระบวนการในร่างกาย 

รวมถึงยังออกแบบและวิเคราะห์การทำงานของตัวยาให้สอดคล้องกับสาเหตุการเกิดโรค ซึ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เราจะทดลองใช้ยาที่ AI ทำขึ้น 100% ในการรักษากับคนจริง ๆ

จุดมุ่งหมายของบริษัท

Zhavoronkov กล่าวว่า “เมื่อตอนที่ก่อตั้งบริษัทขึ้น เป้าหมายหลักของเรา คือ การสร้างอัลกอริทึมเพื่อช่วยเราค้นหาและออกแบบโมเลกุลใหม่ ๆ และโมเลกุลเหล่านี้อาจใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ได้” 

ในปี 2020 บริษัทวางแผนที่จะคิดค้นยาตัวใหม่ที่เป็นเหมือน "Moonshot" คือ การคิดค้นยาเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ก้าวกระโดด เพื่อปรับปรุงการรักษาให้ดีขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากนัก เนื่องจากการรักษาในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้วิธีการชะลอการลุกลามของโรค ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงได้

บริษัท Insilico Medicine ตัดสินใจที่จะมุ่งเป้าไปที่การคิดค้นยาสำหรับโรคพังผืดในปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ (IPF) เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการชราภาพของร่างกาย นอกจากนี้ยังมียาอีก 2 ชนิดที่บริษัทยังคงทำงานวิจัยร่วมกับ AI ได้แก่ ยาสำหรับโควิด-19 ที่อยู่ในขั้นแรกของการวิจัยทางคลินิก, และยารักษามะเร็งยับยั้ง USP1 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) ให้เริ่มการวิจัยทางคลินิกได้

การทดสอบยา INS018_055 

ในตอนนี้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยา INS018_055 อยู่ในขั้นทดลองในประเทศจีนโดยใช้เวลา 12 สัปดาห์ ทางบริษัทได้จัดการทดลองเป็นการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกแบบสุ่ม โดยบางคนได้รับยาจริงและบางคนได้รับยาหลอก ซึ่งผู้เข้าร่วมการทดลองไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาได้รับยาอะไร

ในการศึกษาวิจัยนี้บริษัท Insilico มีแผนที่จะขยายจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองเป็น 60 คน ในที่ต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและจีน หากผลการทดลองเป็นไปด้วยดีก็อาจจะมีการศึกษาอีกครั้งกับผู้คนจำนวนมากขึ้น

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...