โอกาสใหม่ของอินโด-แปซิฟิก G7 เล็งลงทุนด้านพลังงานสะอาด

กลุ่มประเทศ G7 กำลังพิจารณาเงินลงทุนสำหรับการส่งเสริมให้อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในประเทศไปเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งสอดคล้องกับแผนการ Build Back Better World (B3W) การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในการประชุมกลุ่มประเทศขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทั้ง 7 ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

โอกาสใหม่ของอินโดแปซิฟิก G7 เล็งลงทุนโครงสร้างด้านพลังงานสะอาด

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอทางเลือกที่ดีกว่าแผนในลักษณะเดียวกันของจีนที่ชื่อ เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative - BRI) ที่จีนออกทุนช่วยสร้างรถไฟ ถนนหนทาง และท่าเรือให้กับหลายประเทศ นายกรัฐมนตรี Fumio Kishida ของญี่ปุ่นได้ชี้ให้เห็นว่า "การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำให้เกิดสภาพเศรษฐกิจที่เสรีและเปิดกว้าง"

ภายในการประชุมครั้งนี้ นอกจากจะมีแผนการแบนทองคำจากรัสเซียแล้ว กลุ่ม G-7 ยังมีการเปิดตัว "G-7 Partnership for Global Infrastructure and Investment (PGII)" อย่างเป็นทางการ ในวันแรกของการประชุมสุดยอด G-7 ครั้งนี้ด้วย ซึ่งประเทศสมาชิก G-7 ตั้งเป้าที่จะระดมเงินทุนรวม 6 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2027 ให้ได้ 

ความร่วมมือเรื่องพลังงานสะอาด แผนรองรับกับ Build Back Better World (B3W)

แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามแผนความร่วมมือ Build Back Better World (B3W) ที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุม G-7 เมื่อปีที่แล้วที่ประเทศอังกฤษ โดยจะอยู่ภายใต้แนวความคิดริเริ่มที่เป็นประชาธิปไตย ในเรื่องความโปร่งใส ความครอบคลุม และรวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 

โดยครั้งนี้ G-7 กำลังร่วมมือกับอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนามในการเป็นหุ้นส่วนที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยลด Carbon Footprint และมุ่งสู่แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้น

“ในความพยายามร่วมกับพันธมิตร G-7 เรากำลังดำเนินการเพื่อการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น กับอินโดนีเซีย อินเดีย เซเนกัล และเวียดนาม” นายกรัฐมนตรี Olaf Scholz ผู้นำเยอรมนี เจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด G-7 กล่าว

สำหรับเหตุผลประกอบการเลือกประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนามนั้น ธนาคารโลกระบุว่ากลุ่มประเทศนี้ มีอันดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูง แม้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวจะต่ำกว่าประเทศที่ร่ำรวยน้ำมันและประเทศอุตสาหกรรมมากก็ตาม โดยอินเดียอยู่ในอันดับที่สามและอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่เจ็ดของโลกสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมตามประเทศ

อ้างอิงจาก Nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิด 4 มุมมอง VC ทำไม Financial Model ถึงเป็นมากกว่าแค่ตัวเลข

VC มอง Financial Model ไม่ใช่แค่ตารางตัวเลข แต่มันคือ "X-Ray" ส่องทะลุวิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ และศักยภาพในการเติบโตของคุณ เปิด 4 มุมมองลับที่ VC ใช้ประเมิน Financial Model และ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทยปี 68 เสี่ยงโตต่ำ นักวิชาการแนะรัฐเร่งรับมือความเปลี่ยนแปลงของโลก

ไทยกำลังเผชิญแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจจากความตึงเครียดทางการค้าระดับโลกที่ทวีความรุนแรง โดยเฉพาะภายใต้นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กลับมากระตุ้นความไม่แน่นอน...

Responsive image

NIA - True - สจล. หนุน 'Waste Wise Station' ต้นแบบสถานีจัดการขยะอัจฉริยะ นำร่องย่านปุณณวิถี

สถานีจัดการขยะอัจฉริยะ (Waste Wise Station) ต้นแบบการจัดการขยะอย่างชาญฉลาดที่รวม 5 นวัตกรรมสำหรับจัดการขยะ 5 ประเภทไว้ในที่เดียว ใช้นำร่องก่อนใครในย่านปุณณวิถี...