มาแน่! Go-Jek เตรียมชน Grab ขยายตลาดสู่ไทย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

Go-Jek ผู้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ (Ride-hailing) ยูนิคอร์นตัวแรกของอินโดนีเซีย เตรียมขยายตลาดและบริการสู่ 4 ประเทศใน Southeast Asia ได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย เล็งใช้จังหวะหลังจาก Uber ถอนตัวออกจาก Southeast Asia ไปก่อนหน้านี้เพื่อสู้กับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Grab

GO-JEK

ก่อนหน้านี้บริษัท Go-Jek สตาร์ทอัพที่กลายเป็นยูนิคอร์นระดับพันล้านดอลลาร์ตัวแรกของอินโดนีเซีย หนึ่งในผู้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ผ่านแอป (Ride-hailing) โพสผ่าน Facebook และ Twitter ขอบคุณ Uber ที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจดหมายภายในระบุว่ามีการเตรียมขยายบริการสู่ประเทศอื่นเร็วๆ นี้

ล่าสุด Go-Jek เตรียมลงทุนด้วยเงินจำนวน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายตลาดการและบริการอื่นๆ ไปยังอีก 4 ประเทศใน Southeast Asia ได้แก่ เวียดนาม, ไทย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ โดยจะเริ่มให้บริการ Ride-hailing ก่อนเป็นอันดับแรก

แต่ก็มีจุดมุ่งหมายในอนาคต คือ การนำบริการ Go-Jek ทั้งหมดในอินโดนีเซียทั้งหมด ไปใช้บริการใน 4 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นเช่นกัน

ถือว่า Go-Jek ใช้จังหวะและโอกาสอันดีหลังจาก Uber ถอนตัวออกจาก Southeast Asia ไปก่อนหน้านี้เพื่อขยายตลาดออกสู่นอกประเทศเป็นครั้งแรก

Nadiem Makarim CEO Go-Jek กล่าวในแถลงการณ์ว่า

 

ผู้บริโภคจะมีความสุขที่สุดเมื่อพวกเขามีตัวเลือก และตอนนี้ผู้คนในเวียดนาม, ไทย, สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จะต้องไม่รู้สึกว่าพวกเขาพอใจอยู่ที่แค่นี้

“เราหวังว่าการขยายไปยังตลาดใหม่ๆ จะทำให้เรากลายเป็นแอป Lifestyle ด้านการเดินทางของทุกคนได้อย่างรวดเร็วขึ้น” CEO Go-Jek กล่าว

บริการอื่นๆ ของ Go-Jek นอกจากเหนือจากบริการเรียกแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์ผ่านแอป ซึ่งตอนนี้ (พฤษภาคม 2018) มีบริการมากถึง 16 บริการ | Photo: Go-Jek

ซึ่ง Go-Jek มีแบ็คคนสำคัญที่สนับสนุนด้านเงินทุนอย่าง Warburg Pincus และ KKR & Co. ทำให้ Go-Jek ขยายบริการจากเดิมมีแค่บริการเรียกแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์ ทำให้สามารถขยายบริการจ่ายเงิน สั่งอาหาร หรือซื้อตั๋วหนังรายใหญ่ใน Southeast Asia ได้ในที่สุด โดยการระดมทุนของ Go-Jek รอบล่าสุดมีนักลงทุนจาก Google, Tencent และ Temasek Holdings เข้ามาร่วมด้วย จนในปี 2016 Go-Jek มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.8 พันล้านดอลาาร์สหรัฐฯ อ้างอิงข้อมูลจาก CB Insights

คู่แข่งรายใหญ่ของ Go-Jek อย่าง Grab ที่ยึดตลาดในสิงคโปร์ และกระโดดเข้ามาแข่งขันเต็มตัว หลังจากช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Uber ยอมรับข้อเสนอที่จะได้ถือหุ้นใน Grab 27.5 เปอร์เซ็นต์ แลกกับการถอนการให้บริการของ Uber ออกจากตลาด Southeast Asia ไป

อ่านประกอบ: 5 สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องรู้เมื่อ Grab ซื้อ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ Grab เคยได้รับเงินลงทุน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก SoftBank Group มาแล้ว ทำให้การแข่งขันกับในสิงคโปร์เป็นไปอย่างดุเดือด ซึ่งตอนนี้ Grab ก็เปิดให้บริการใน 7 ประเทศแล้ว ซึ่ง Grab ก็บริหารงานโดย Anthony Tan อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ Nadiem Makarim (CEO Go-Jek ในปัจจุบัน) เมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่ Harvard Business School อีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...