Gojek รับเงินระดมทุน 1,200 ล้าน USD ครั้งแรกในปี 2020 สวนกระแสหวั่น COVID-19

Gojek ยูนิคอร์นจากอินโดนีเซีย รับเงินระดมทุนมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยยังไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ลงทุนอย่างเป็นทางการ สวนกระแสความไม่มั่นใจการลงทุนใน Startup และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ COVID-19 แย้มเตรียมพร้อมสู้ศึกแอปฯ เอนกประสงค์กับ Grab โดยตรง

เว็บไซต์ Bloomberg รายงานว่า Gojek ยูนิคอร์นจากประเทศอินโดนีเซีย ผู้ให้บริการแอปฯ เอนกประสงค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับเงินลงทุนก้อนใหม่มูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยดีลนี้ถือเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกนับตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา

ท้ังนี้ Bloomberg ยังได้กล่าวอ้างจดหมายภายในองค์กรถึงพนักงานจาก Co-CEO ทั้งสองอย่าง Andre Soelistyo และ Kevin Aluwi ว่า ยังคงมีความต้องการลงทุนใน Gojek เป็นจำนวนมากและทั้งหมดอยู่ระหว่างการพูดคุย เงินก้อนนี้อยู่ในเป้าหมายที่ต้องการระดมทุน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในต้นปี 2020 ซึ่งก่อนหน้านี้ Gojek ได้รับเงินระดมทุนมาแล้ว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การระดมทุนรอบนี้เป็นการยุติข่าวลือที่ว่าด้วยการเข้าซื้อกิจการของ Gojek โดย Grab ซึ่งแน่นอนว่าการระดมทุนรอบนี้ทำให้ Gojek ยังคงอยู่ในเกมการสร้างแอปฯ เอนกประสงค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

ปัจจุบัน Gojek ได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนชั้นนำอย่าง Google, Tencent, Temasek, VISA รวมถึงธนาคารไทยพาณิชย์ที่ประกาศการลงทุนอย่างเป็นทางการไปเมื่อปี 2019 

ด้าน Grab เองก็เพิ่งประกาศรับเงินลงทุนมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกับเป็น Partner กับ MUFG กลุ่มการเงินระดับโลกของญี่ปุ่น

ขอบคุณภาพประกอบจาก gojekindonesia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...