Google Meet เปิดตัวฟีเจอร์ตรวจจับการยกมือถาม หมดกังวลการส่งอีโมจิแบบไม่ตั้งใจ

เคยไหม? กำลังจะยกมือถามตอนประชุมออนไลน์ แต่เผลอมือลั่นส่งอีโมจิผิดๆ ไป

Google เปิดตัวฟีเจอร์ตรวจจับการยกมือใน Video Call บน Google Meet ซึ่งใช้แทนปุ่มยกมือบนหน้าจอได้เลย ไม่ต้องกังวลว่าจะกดส่งอีโมจิแปลก ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจอีกต่อไป

แค่ยกมือขึ้นตอนประชุมออนไลน์ Google Meet ก็จะจดจำมือจากการตรวจจับท่าทางของเราได้ จากนั้นระบบจะแจ้งเตือนโฮสต์ในที่ประชุมและแสดงไอคอนยกมือในหน้าต่างวิดีโอของผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ

หากต้องการเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้สามารถไปที่ ตัวเลือกเพิ่มเติม > การแสดงความรู้สึก > ท่าทางยกมือ ทั้งนี้ อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่ากล้องเปิดใช้งานอยู่ไหมและเห็นมือได้ชัดเจนดีหรือเปล่า ที่สำคัญเราแนะนำว่าควรยกมือให้ห่างจากใบหน้าและร่างกายสักหน่อยกำลังดี

ภาพจาก: Googleblog

ฟีเจอร์นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การประชุมดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น และป้องกันการกดอีโมจิที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น อีโมจิร้องไห้ อีโมจิปรบมือ เป็นต้น

เนื่องจากเป็นฟีเจอร์ยกมือสำหรับถาม ดังนั้นหากเป็นผู้พูดอยู่แล้ว จะขยับหรือยกมือขึ้น ก็ไม่ต้องห่วง เพราะระบบจะไม่ตรวจจับว่าเป็นการยกมือถาม ฟีจอร์นี้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเราไม่ได้เป็นผู้พูดนั่นเอง

ฟีเจอร์นี้เปิดตัวให้กับผู้ใช้ Google Workspace สำหรับธุรกิจและการศึกษาแล้วตั้งแต่วันนี้ ไปลองใช้กันเลย

อ้างอิง: theverge


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...