ธนาคารออมสิน เตรียมตั้ง Non Bank รัฐแห่งแรก เป็นบริษัทใหม่ ปล่อยสินเชื่อ–รับขายฝากที่ดิน

ธนาคารออมสิน หนุนตั้ง Non Bank รัฐแห่งแรก เป็นบริษัทใหม่ รุกปล่อยสินเชื่อ–ขาย ฝากที่ดิน ดอกเบี้ยต่ำ หวังทยานสู่ธนาคารเพื่อสังคม ช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่มีที่ดินแต่ติดขัดสภาพคล่อง ตั้งเป้าเปิดให้บริการไตรมาส 3 ปี 2565 เบื้องต้นจะมีการใช้เงินทุนในการจดทะเบียน1,000 ล้านบาท พร้อมกับวางแผนถือหุ้น 85% คาดปีแรกจะปล่อยสินเชื่อที่ดินทะลุ 10,000 ล้านบาท 

ธนาคารออมสิน เตรียมตั้ง Non Bank รัฐแห่งแรก เป็นบริษัทใหม่ ปล่อยสินเชื่อ–รับขายฝากที่ดิน

คุณวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในปี 2565 ออมสินมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา เพื่อประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อเกี่ยวกับที่ดินและการรับขายฝากที่ดิน ในรูปแบบน็อนแบงก์ หรือ ผู้ประกอบการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะมีการขออนุญาตการประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  โดยเป็นตั้งเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมาเลย มีธนาคารออมสินเข้าไปเป็นผู้ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 85% และอีก 15% จะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยเสริมธุรกิจ โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงมี.ค.-เม.ย. 65 และเตรียมการเพื่อเปิดให้บริการได้หลังจากนั้นภายในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2565 

มุ่งสู่เป้าหมายธนาคารเพื่อสังคม

“โมเดลนี้เป็นอีกหนึ่งแผนดำเนินงานของธนาคารที่มุ่งไปสู่ธนาคารเพื่อสังคม ที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่มีที่ดินแต่ยังติดขัดในเรื่องสภาพคล่อง ที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เข้าถึงดอกเบี้ยไม่สูงเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เข้าไปกดดอกเบี้ยเกินไป จนทำให้ผู้ทำธุรกิจอยู่เดิมต้องเดือดร้อน เบื้องต้นจะมีการใช้เงินทุนในการจดทะเบียน1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ออมสินจะเข้าไปถือหุ้นเกินสัดส่วน 50% และคาดว่าจะมีการปล่อยสินเชื่อที่ดินในช่วงปีแรกได้ 10,000 ล้านบาท” คุณวิทัย กล่าว

ปักหมุดปล่อยสินเชื่อที่ดิน-ธุรกิจขายฝาก จำนองที่ดิน สินเชื่อส่วนบุคคล

สำหรับการดำเนินงานของธุรกิจดังกล่าวในระยะแรก จะเป็นการปล่อยสินเชื่อที่ดินก่อน ต่อไปจะพัฒนาไปสู่ธุรกิจขายฝาก จำนองที่ดิน และรวมทั้งจะมีการพัฒนาไปถึงการให้สินเชื่อบุคคลด้วย เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยในตลาดให้ต่ำลงมาซึ่งจะเป็นการลดปัญหาหนี้นอกระบบด้วย เบื้องต้น การปล่อยสินเชื่อที่ดิน จะมีการคำนวณการปล่อยสินเชื่อสูงสุด75%  จากราคาประเมินที่ของกรมธนารักษ์ หรือ 50% ของราคาตลาด ขณะเดียวกัน จะมีการคัดเลือกเน้นกลุ่มที่ดินที่มีศักยภาพ ที่ตาบอด หรือที่ที่มีการขุดหน้าดินออกไปขายทิ้งแล้วเพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจด้วย

ส่วนการขายฝากที่ดินนั้น จะรับขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะมีการผ่อนปรนในตัววงเงินสินเชื่อที่มากกว่าสินเชื่อที่ดิน เนื่องจากการขายฝากมีต้นทุนในการบริหารจัดการที่น้อยกว่า จึงจะให้การพิจารณาที่ผ่อนปรน และให้วงเงินที่สูงกว่า รวมทั้งดอกเบี้ยจะอัตราต่ำกว่าการฝากขายที่ดินในตลาด ประมาณ 8.99-9.99%  ซึ่งการดำเนินธุรกิจขายฝากในท้องตลาดก็ยังถือว่ามีผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากอยู่ โดยปัจจุบันมีธุรกิจขายฝากเข้ามาจดทะเบียนกับกรมที่ดินเฉลี่ยปีละ 1-2 หมื่นล้านบาท

“การตั้งบริษัทสินเชื่อที่ดินเป็นการต่อยอดจากช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากที่ออมสินได้ทดลองทำโครงการมีที่มีเงิน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 2 หมื่นล้านบาทและโครงการมีที่มีเงินจะจบ เฟส 3 ใน มี.ค.นี้ และจะไม่มีการต่อโครงการอีก เนื่องจากต้องการให้บริษัทนี้เข้ามาดำเนินการในส่วนนี้แทน” คุณวิทัย กล่าว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...