Hisense Group ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่จากจีน ชี้ ‘ชิปขาดแคลน’ จะยังเป็นวิกฤตต่อไปอีก 2-3 ปี

ปัญหาวิกฤตชิปขาดแคลน ทำให้อุตสากรรมผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้ผลิตรถยนต์ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้ทัน

และล่าสุด หนึ่งในผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากจีน อย่าง Hisense บริษัทผู้ผลิตโทรทัศน์ และเครื่องใช้ในบ้าน ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “ปัญหาชิปขาดแคลนนี้จะยังคงดำเนินต่อไปอีก 2-3 ปี” Jia Shaoqian ประธานของ Hisense Group Holding ของเมืองชิงเต่า กล่าว “อีกทั้งยังส่งผลให้ต้นทุนของการผลิตเพิ่มสูงขึ้น แต่ธุรกิจจะยังต้องดำเนินต่อไปตามปกติ”

โดยส่วนใหญ่แล้วชิปที่นำมาใช้ในการผลิตนั้น จะนำเข้ามา ก่อนจะดำเนินการผลิตในประเทศจีน และส่งออกสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศ

จากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ความตึงเครียดในเรื่องของวิกฤตชิปขาดแคลนเพิ่มมากขึ้น โดยทางสหรัฐอเมริกาเองต้องการจะตัดขาดการนำเข้าชิปจากผู้ผลิตชิปขนาดใหญ่จากจีน อย่าง SMIC ทำให้บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามอุปสงค์ของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ความต้องการในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง เกมคอนโซล 

และนอกจากจะส่งผลให้สินค้าขาดตลาดแล้ว สงครามการค้านี้ยังทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในจีนและสหรัฐอเมริกาหันมากักตุนสินค้าแทน

Jia ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถ้าหากไม่มีสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจแล้ว ปัญหาชิปคลาดแคลนคงจะหมดลงไปได้ ภายใน 2-3 ปีนี้”

“แต่ในทางกลับกัน ถ้าสงครามการค้านี้ยังไม่จบสิ้น มันจะยากที่จะบอกได้ว่าปัญหานี้จะจบลงเมื่อไหร่” Jia กล่าว ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทั่วโลก มองว่า ปัญหาชิปคลาดแคลนนี้จะจบลงในปี 2022 

แบรนด์ Hisense อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเท่าแบรนด์ดังอื่น ๆ โดย Hisense นั้นกำลังตั้งเป้าที่จะขยายฐานการผลิตออกไปสู่ต่างประเทศ และจะเปิดสำนักงานสำหรับทำ R&D โดยเฉพาะ 

ปัจจุบันนี้ รายได้ของ Hisense กว่า 40% มาจากต่างประเทศ และจะเพิ่มยอดขายเป็น 50% ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

อ้างอิง: CNBC


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...