นักวิจัยทดลองสร้าง AI เลียนแบบสมองผึ้ง พบตัดสินใจเร็ว แม่นยำ

นักวิทยาศาสตร์ชาวเชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ ได้ใช้ผึ้งมาทดลองเพื่อพัฒนา AI ด้วยความโดดเด่นในการตัดสินใจที่รวดเร็วของพวกมัน อาจพลิกโฉมการสร้างและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้ 

ทำไมถึงต้องใช้ผึ้ง 

ถึงแม้ว่าผึ้งจะมีสมองขนาดเล็กเท่าเมล็ดงา แต่ผึ้งก็มีทักษะโดดเด่นในเรื่องความรวดเร็วเมื่อต้องตัดสินใจ 

นักวิจัยฝึกผึ้งให้รู้จักดอกไม้สีต่าง ๆ บางชนิดมีน้ำตาลกลูโคสและบางชนิดไม่มี เพื่อดูว่าพวกมันทำงานอย่างไร ในสวนดอกไม้ที่สร้างขึ้น 

ทักษะการตัดสินใจะที่รวดเร็วของผึ้งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาระบบ AI ช่วยให้สามารถพัฒนาให้ระบบให้ดีขึ้น และมีความเสี่ยงในการใช้งานน้อยลง โดยหวังให้ AI นี้ให้มีทักษะการทำงานเหมือนสมองของผึ้ง

การค้นพบความลับในทักษะการตัดสินใจอย่างรวดเร็วของผึ้ง

นักวิจัยจาก University of Sheffield ได้ทำการทดลองเพื่อทำความเข้าใจกลไกพื้นฐานของทักษะการตัดสินใจของผึ้ง นำโดย Dr. HaDi MaBouDi ซึ่งฝึกให้ผึ้งจำแนกดอกไม้ที่มีสีแตกต่างกัน 5 ชนิด และศึกษากระบวนการตัดสินใจของผึ้งในสภาพแวดล้อมที่กำหนด

ผึ้งถูกปล่อยเข้าไปในสวนจำลองที่เต็มไปด้วยดอกไม้ปลอมที่มีน้ำตาลไซรัป และน้ำโทนิคอยู่ข้างใน หลังจากฝึกให้ผึ้งรู้จักกับกับดอกไม้สีต่าง ๆ ทั้งดอกที่มีอาหารและไม่มี ผลปรากฏว่าผึ้งบินเข้าหาแต่ดอกที่มีโทนิคเท่านั้น

ผึ้งตัดสินใจบินเข้าไปหาดอกไม้ที่ดูเหมือนจะมีอาหารอยู่ข้างในอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาเฉลี่ยเพียงแค่ 0.6 วินาที และผึ้งยังหลีกเลี่ยงออกจากดอกไม้ที่ดูเหมือนจะไม่มีอาหารอยู่ในนั้น 

แม้ว่าสมองของผึ้งจะมีเซลล์ประสาทน้อยกว่าหนึ่งล้านเซลล์ แต่ผึ้งก็สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำโดยพิจารณาจากสีและกลิ่นที่แตกต่างกัน

จากนั้นนักวิจัยได้สร้างโมเดลคอมพิวเตอร์ที่มีกระบวนการทำงานคล้ายกับสมองของผึ้งขึ้นมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจกลไกที่อยู่เบื้องหลังความสามารถอันน่าทึ่งนี้ โมเดลที่สร้างขึ้นไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการตัดสินใจของผึ้ง แต่ยังนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบ AI ด้วย

เส้นทางใหม่ของ AI ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลของการทดลองนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญต่อการพัฒนา AI เมื่อเข้าใจกลไกพื้นฐานในการตัดสินใจของผึ้ง นักวิทยาศาสตร์สามารถออกแบบหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ของ AI ได้ดียิ่งขึ้น 

เหมือนกับการหาอาหารของฝูงผึ้ง ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการตัดสินใจ การนำทาง และการสื่อสารในกลุ่ม ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับการพัฒนาอัลกอริทึมและหุ่นยนต์ ซึ่งอัลกอริทึมเหล่านี้จะแสดงถึงความสามารถในการขยายเครือข่าย ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของระบบ 

อนาคตของ AI ด้วยแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ

งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ทำความเข้าใจและเลียนแบบกลไกการตัดสินใจของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่งแรงบันดาลใจทางชีวภาพนี้สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของ AI และนำไปสู่ความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในอนาคตได้

Opteran องค์กรย่อยของ University of Sheffield กำลังพัฒนา silicon brains ที่จะทำให้หุ่นยนต์หรือยานยนต์อัตโนมัติให้สามารถเลียนแบบความสามารถในการรับรู้ การนำทางและความสามารถในการตัดสินใจของแมลงต่าง ๆ โปรเจกต์นี้เรียกว่า Natural Intelligence ซึ่งจะสามารถพัฒนาศักยภาพตลาดเครื่องยนต์และหุ่นยนต์ได้

โดยสรุปแล้ว แม้ว่าต้องใช้แรงจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ให้หุ่นยนต์มีการทำงานคล้ายกับผึ้ง แต่นักวิทยาศาสตร์มองว่าด้วยการวิจัยและพัฒนามากมายนี้จะทำให้ความสามารถในการตัดสินใจอันรวดเร็วของผึ้งเปลี่ยนแปลงให้ AI มีการทำงานที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


อ้างอิง: innovationorigins, bbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กสิกรไทยเผย 5 ธุรกิจใต้ Orbix Group ครบเครื่องนิเวศ Digital Asset ในงาน MONEY20/20 Asia

กสิกรไทย เผยรายละเอียด 5 ธุรกิจในกลุ่มออร์บิกซ์ (Orbix Group) เพื่อรองรับระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรอบด้าน บนเวทีระดับโลก MONEY20/20 Asia...

Responsive image

Tesla ส่อถูกเขี่ยพ้นตลาดจีน ยอดขายร่วง แข่งเดือด BYD – Xiaomi

Tesla กำลังสูญเสียส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีนอย่างต่อเนื่อง เมื่อแบรนด์ท้องถิ่นมาแรง พนักงานขายต้องทำงานวันละ 13 ชั่วโมง สะท้อนแรงกดดันจากยอดขายที่ตกต่ำและการแข่งขันดุเดือดในตลาด ...

Responsive image

นักวิทย์ฯ ค้นพบ ‘Olo’ สีใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยเห็น ผ่านการทดลองกระตุ้นเซลล์ตาด้วยเลเซอร์

การค้นพบสุดล้ำนี้เกิดจากการทดลองที่นักวิจัยยิงเลเซอร์เข้าไปในตาของมนุษย์ เพื่อกระตุ้นเซลล์รับแสงในจอประสาทตาแบบเฉพาะเจาะจง ส่งผลให้สมองของผู้ทดลองรับรู้สีที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติ ...