ไปไม่ถึงฝัน Hyperloop One จะปิดกิจการ ขายทรัพย์สิน และปลดพนักงานที่เหลือสิ้นปี

ภาพ: Hyperloop One

ไม่น่าเชื่อว่าอนาคตใหม่ของการเดินทางด้วยความเร็วสูงอย่าง Hyperloop จะมาถึงจุดจบไวกว่าที่คาด หลังจากสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าบริษัท Hyperloop One จะปิดกิจการลง หลังคว้าน้ำเหลวจากการเซ็นสัญญากับพันธมิตรเพื่อพัฒนาโครงการ Hyperloop อยู่หลายหน แม้ว่าก่อนหน้านี้บริษัทจะเคยรับเงินระดมทุนไปแล้วกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก DP World บริษัทขนส่งของ United Arab Emirates และมหาเศรษฐีอย่าง Richard Branson ก็ตาม

ทั้งนี้ พนักงานที่เหลือจะทำงานจนถึงวันสุดท้ายของปี 2023 เท่านั้น ขณะที่ทรัพย์สินอื่นๆ จะถูกขายทิ้ง รวมถึงตัว Hyperloop ที่สร้างขึ้นพร้อมที่นั่งโดยสารสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2020 

Hyperloop ได้รับการออกแบบการวางระบบขับเคลื่อนแบบลอยตัวด้วยพลังแม่เหล็ก ทำให้เดินทางได้อย่างรวดเร็วและแทบจะไร้เสียงรบกวน ถ้าหากสำเร็จ การเดินทางระหว่างนิวยอร์กกับกรุงวอชิงตันจะใช้เวลาแค่ 30 นาทีเท่านั้น เท่ากับว่าเร็วกว่าการขึ้นเครื่องบินเจ็ตพาณิชย์ 2 เท่า และเร็วกว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง 4 เท่าเลยทีเดียว

การเดินทางด้วยระบบ Hyperloop เป็นงานวิจัยที่มีมานาน และได้รับความสนใจจากอีลอน มัสก์ ซึ่งนำมาปัดฝุ่นและเสนอการวางรากฐานใหม่ของการเดินทางในอนาคต อีลอนเองก็ได้ก่อตั้งบริษัท The Boring Company พร้อมกับความคาดหวังว่าจะพัฒนารูปแบบการเดินทางด้วย Pod ผ่านท่อสุญญากาศในชั้นใต้ดินแบบเดียวกับ Hyperloop

ดูเหมือนว่าอนาคตของการเดินทางสุดล้ำจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

อ้างอิง: The Verge, Reuters



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...