ยกเลิกแบน iPhone 16 ไม่ง่าย อินโดฯ ยังไม่พอใจข้อเสนอลงทุน Apple ชี้ยังไม่เป็นธรรมสำหรับประเทศ

เรื่องราวระหว่าง Apple และอินโดนีเซียดูเหมือนจะยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศแบน iPhone 16 ห้ามวางจำหน่ายในประเทศ ใครใช้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 

โดยอ้างเหตุผลว่า Apple ไม่ลงทุนในประเทศตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ รวมถึงการไม่ใช้ส่วนประกอบในประเทศตามสัดส่วนที่กำหนด จนนำไปสู่การนำเสนอเงินลงทุนก้อนใหญ่จาก Apple มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียได้ออกมาเปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้ทำการประเมินข้อเสนอก้อนใหญ่ที่ Apple จะลงทุนเพิ่ม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานประกอบอุปกรณ์เสริม โดยหลังจากพิจารณาพบว่าข้อเสนอดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักของความยุติธรรม 

"เราต้องการให้ Apple กลับมาทำธุรกิจที่นี่ แต่เราต้องการการแก้ไขปัญหาที่เป็นธรรม" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซียกล่าว

อินโดนีเซียเปรียบเทียบข้อเสนอดังกล่าวกับการลงทุนที่ใหญ่กว่าของ Apple ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และไทย รวมทั้งยังเปรียบเทียบการลงทุนของ Apple กับผู้ผลิตโทรศัพท์คู่แข่งอย่าง Samsung ที่ได้ลงทุน 8 ล้านล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย และ Xiaomi ที่ได้ลงทุน 55 ล้านล้านรูเปียห์เพื่อผลิตอุปกรณ์ในประเทศ

Apple ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะลงทุนเป็นจำนวนเงิน 1.7 ล้านล้านรูเปียห์ ซึ่งตอนนี้ลงทุนไปแล้ว 1.5 ล้านล้านรูเปียห์ ซึ่งข้อเรียกร้องของอินโดนีเซียคือการให้ Apple ส่งมอบเงินที่เหลืออีกราว 10 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ จากคำมั่นสัญญาการลงทุนเมื่อปีที่ผ่านมา และต้องเสนอข้อเสนอที่ดีกว่าสำหรับปี 2567-2570

อินโดนีเซีย พยายามออกมาตรการปกป้องประเทศตนเองมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้เคยประกาศกฎระเบียบบังคับให้ Bytedance บริษัทแม่ของ TikTok แยกฟีเจอร์การช็อปปิ้งออกจาก TikTok เพื่อปกป้องภาคการค้าปลีกของตนเองจากสินค้าจีน 

ส่วนการแบน Apple ถือว่าน่าสนใจเพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต มีประชากรที่อายุน้อย และมีความรู้ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งยังมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันมากถึง 350 ล้านเครื่องในประเทศ การเจาะตลาดอินโดนีเซียอย่างระยะยาวจึงเป็นกลยุทธ์ที่บิ๊กเทคฯ ต่างจับตามอง

อ้างอิง : reuters, bnn bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...