Sam Altman ผู้ถือ Golden Visa อินโดคนแรกของโลก พิเศษกว่าวีซ่าปกติยังไง อินโดจะได้อะไร ?

“โปรดมายังประเทศของฉัน” อินโดนีเซียให้สุดยอดวีซ่ากับ Sam Altman ผู้สร้าง ChatGPT ซึ่งเรียกกันว่า 'Golden Visa' เป็นวีซ่าที่ไม่ได้ให้ใครง่าย ๆ และก็ไม่เคยมีใครได้มาก่อน มันพิเศษกว่าวีซ่าปกติยังไงและทำไมต้องให้ Sam Altman  ? 

‘Golden Visa’ มากกว่าตั๋วผ่านเข้าประเทศ แต่คือ ‘คำเชิญ’

Golden Visa คือ วีซ่าชนิดพิเศษที่อินโดนีเซียจะให้กับนักลงทุนหรือธุรกิจที่เข้ามาลงทุนด้วยเงินมหาศาลในอินโดนีเซีย เช่น ลงทุน 25 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 886 ล้านบาท) จะได้วีซ่าทองคำที่มีอายุ 5 ปี หรือลงทุน 50 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.7 พันล้านบาท) ก็จะได้วีซ่าทองคำที่มีอายุ 10 ปี

สิทธิพิเศษที่นักธุรกิจหรือนักลงทุนเหล่านี้จะได้นอกเหนือจากอายุวีซ่า คือ ความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าหรือออกประเทศ เช่น ไม่ต้องต่อแถวเผื่อผ่าน ตม. เหมือนผู้ที่ถือวีซ่าธรรมดา และจะเข้าหรือออกนอกประเทศก็ไม่ต้องยื่นเอกสารให้วุ่นวาย รวมถึงไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตในการอยู่ในอินโดนีเซีย จึงสามารถอยู่ในอินโดนีเซียได้นานขึ้นอีกด้วย

Silmy Karim อธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมืองของอินโดนีเซียเชื่อมั่นว่า ยิ่งนักลงทุนเข้ามาอยู่ในประเทศนานเท่าไหร่ การฝากเงิน การลงทุน รวมถึงการจับจ่ายภายในประเทศก็จะเพิ่มสูงมากขึ้นเท่านั้น

ล่าสุดทางอินโดนีเซียก็เพิ่งจะให้ Golden Visa ที่มีอายุถึง 10 ปีแก่ Sam Altman ซึ่งเป็นการให้วีซ่าทองคำครั้งแรกของประเทศกับนักธุรกิจ 

ทำไมต้องให้ Sam Altman ?

Karim เผยว่า วีซ่าทองคำนอกจากจะให้กับนักลงทุนแล้ว ก็ยังให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่สามารถให้ผลประโยชน์แก่อินโดนีเซียได้ 

ก่อนหน้านี้ 1 สัปดาห์อินโดนีเซียเพิ่งเปิดตัวโครงการที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเลือกให้วีซ่าทองคำกับ Sam Altman ในครั้งนี้อินโดนีเซียก็เชื่อมันว่า Altman จะเข้ามามีส่วนร่มในการพัฒนา AI ในอินโดนีเซียได้

Karim ยังกล่าวเสริมอีกว่า มีประเทศมากมายที่ดำเนินนโยบายวีซ่าทองคำและก็ได้ผลดีมาก เช่น เดนมาร์ก กลายเป็นประเทศแถวหน้าด้านนวัตกรรม หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กลายเป็นประเทศยอดนิยมที่นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน

อินโดนีเซียก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวีซ่าทองคำจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับประเทศได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การให้วีซ่าทองคำกับ Sam Altman คนแรก นอกจากจะได้ความร่วมมือในการพัฒนา AI ของอินโดนีเซียแล้ว ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดึงดูดนักลงทุนมาให้กับอินโดนีเซียได้

อ้างอิง: cnbc, gizmodo

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...