Instagram เปิดตัวฟีเจอร์ Shopping สำหรับซื้อและขายสินค้าแล้ว

E-Commerce ว่าไง? ปลายปีที่แล้ว Facebook ก็เปิดตัวฟีเจอร์ซื้อ-ขายสินค้าอย่าง Marketplace ไปแล้ว วันนี้เปิดตัว Instagram เปิดตัวฟีเจอร์ซื้อ-ขายสินค้าบ้าง แต่มาในชื่อ 'Shopping'

หลังก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้ทดสอบฟีเจอร์ Shopping ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับซื้อและขายสินค้าบน Instagram ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวจะอยู่ในหน้า Explore ในแอป Instagram นั่นเอง ล่าสุด Instagram เปิดตัวฟีเจอร์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน 46 ประเทศแล้ว และเตรียมเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วโลกใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

โดยฟีเจอร์ Shopping บน Instagram จะขึ้นเป็นแท็บแรกในหน้า Explore ของแอป และสินค้าใดที่ประกาศขายจะมีรูปตะกร้าอยู่มุมบนขวาของรูปให้เห็นอย่างชัดเจน รวมถึงยังสามารถติดป้ายหรือแท็กสินค้าที่เราขายใน Instagram ไว้ใน Stories ของตัวเองได้อีกด้วย

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่ามมาทาง Facebook ได้เปิดตัวฟีเจอร์ Marketplace สำหรับซื้อและขายสินค้าต่างๆ ได้ทันที เรียกได้ว่าตอนนี้ Product ของ Facebook อย่าง Instagram และ Facebook มีช่องทางที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาซื้อและขายสินค้าได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

งานนี้ E-Commerce รายอื่นว่าไง? เมื่อ Facebook และ Instagram ลงมาเปิดช่องทางเป็นทุกอย่างให้กับผู้ใช้ แข่งกับ E-Commerce ที่มีอยู่เดิมเสียเอง...

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...