IRPC ร่วมทุนจีน เปิดตัว Plastic E-commerce Platform แหล่งซื้อขายเม็ดพลาสติกออนไลน์รายแรกของไทย

IRPC ร่วมลงทุนจีนขยายปีกสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขายเม็ดพลาสติกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ “PLASTKET.COM” เจ้าแรกของไทย พร้อมเดินหน้าตามแผนงาน ไออาร์พีซี 4.0 ตั้งเป้าเป็นผู้นำทางด้าน Digital ด้วยการบูรณาการระบบดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร             

IRPC-CEOนายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทดำเนินโครงการ IRPC 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ GDP ที่ทางบริษัทได้มุ่งเน้นการดำเนินการด้าน Power of Digital เพื่อผลักดันให้ ไออาร์พีซีเป็น Petrochemical Complex ชั้นนำทางด้าน Digital  การบูรณาการระบบดิจิทัลเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในขั้นตอนธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วองค์กร

โดยบริษัทได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ภายใต้แพลตฟอร์ม “พลาสเก็ตดอทคอม (PLASTKET.COM)”  เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 55%) และบริษัท Guangzhao Saiju Performance Polymer Ltd. (“GZSJ”) (ถือหุ้น 45%) จากจีน

ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะจำหน่ายเม็ดพลาสติกจากทุกแบรนด์ ไม่จำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ของไออาร์พีซีและในกลุ่ม ปตท. ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพลาสติก SMEs ทั่วประเทศเข้ามานำเสนอ จำหน่าย ซื้อขายสินค้าได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส

นอกจากนี้ยังมีโครงการ “EKONS” ระบบที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ โดยสามารถวัดและติดตามสถานะของตัวชี้วัดหรือ KPI ของแต่ละโรงงาน โครงการ Predictive Maintenance ช่วยคาดการณ์และกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงล่วงหน้า พร้อมประเมินแนวโน้มการเบรกดาวน์ของอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานเครื่องจักร ลดค่าซ่อมบำรุงในอนาคต และเพิ่มระยะเวลาการปฏิบัติการของโรงงานให้สูงขึ้น

ขณะเดียวกันบริษัทได้จัดทำระบบซัพพลายเชน ที่นำระบบดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนระบบจัดการข้อมูลจาก Crude supply         ไปจนถึงปรับปรุงขั้นตอนการจัดส่งสินค้าให้เป็นระบบมากขึ้น มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ และช่วยให้การตัดสินใจทางด้านซัพพลายเชนมีประสิทธิผลมากขึ้น

ระบบ Big Data วิเคราะห์ความต้องการของตลาด ระบบเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนจัดซื้อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านต้นทุน และการเปลี่ยนแปลงการจัดการข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ขององค์กร ระบบดังกล่าวนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท (50 ล้านเหรียญสหรัฐ)

“เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เรามีความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม หรือ High Value Added Products (HVA)  ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแผนงาน ไออาร์พีซี 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ GDP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รับมือกับสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน  รวมถึงขยายส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์ในตลาดอาเซียนให้มากขึ้น”  นายนพดล กล่าว

 

 

 

 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...