ญี่ปุ่น-มาเล เสนอวิธีจัดเก็บคาร์บอน (CCS) หวังสร้างแนวทางใหม่ให้ SEA

อกจากลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนแล้ว ทำอะไรได้อีก ญี่ปุ่น-มาเล ผุดไอเดียให้จัดเก็บก๊าซคาร์บอนเอาไว้แทน โดยทั้ง 2 ประเทศเผยว่าจะเริ่มดำเนินการตามแผนนี้ในปี 2028 แล้วถ้าจะจัดเก็บก๊าซคาร์บอนต้องทำยังไง เก็บมาแล้วจะเอาไปไว้ที่ไหน ?

แผนจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ญี่ปุ่น-มาเล

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม ร่วมกับองค์การเพื่อความมั่นคงด้านโลหะและพลังงานของญี่ปุ่น วางแผนที่จะทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับบริษัทปิโตรนาส ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) 

วิธีการจัดเก็บ จะมีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ญี่ปุ่นปล่อยออกมาและถูกเปลี่ยนให้เป็นของเหลว จากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลวเหล่านี้จะถูกบรรทุกลงเรือและขนส่งไปยังมาเลเซีย

สถานที่จัดเก็บ มาเลเซียมีสถานที่ในการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนเหลวเหล่านี้มากมาย เช่น ไซต์งานในมาเลเซีย แหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง และแหล่งจัดเก็บใต้ดิน

หากความร่วมมือนี้สำเร็จ การดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถือเป็นวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ซึ่งญี่ปุ่นหวังว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาค ซึ่งเป็นครั้งแรกของ SEA ที่มีการใช้วิธี CCS และขนส่งก๊าซคาร์บอนข้ามประเทศ

การจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยอะไรได้ ?

ญี่ปุ่นและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามองว่า การใช้ Carbon Capture and Storage (CCS) เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างสมดุลระหว่างการผลิตพลังงานไฟฟ้ากับการปกป้องสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะสามารถลดมลพิษได้แล้ว ก็ยังสามารถผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับทุกคนได้

ญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะ Net Zero การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050 ด้วยการจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ประมาณปีละ 120 ล้านตัน - 240 ล้านตัน ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 10% - 20% 

เทคโนโลยี CCS จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ญี่ปุ่นคาดว่าจะมีราคาประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทและอาจมีราคาที่สูงขึ้นอีก ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องเริ่มระดมทุนเพื่อผลักดันโครงการนี้

โดยญี่ปุ่นวางแผนที่จะขายพันธบัตรที่เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงสีเขียว" เพื่อใช้พันธบัตรเหล่านี้เป็นช่องทางให้ผู้คนมาลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลจะเริ่มขายพันธบัตรในปีนี้เพื่อระดมทุนทำ CCS

อ้างอิง: asia.nikkei

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...