ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือ! Honda-Nissan เตรียมควบรวมกิจการ

Nikkei รายงานว่า ฮอนด้าและนิสสัน สองค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น กำลังเตรียมเจรจาควบรวมกิจการ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการแข่งขันในตลาดรถยนต์

ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือ! Honda-Nissan  เตรียมควบรวมกิจการ

รายงานระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณารวมตัวกันภายใต้บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงในเร็วๆ นี้ โดยมีแผนจะดึงมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่นิสสันถือหุ้น 24% เข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้ทั้งสามบริษัททำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และแข่งขันกับบริษัทรถยนต์อื่นๆ ได้ดีขึ้น

หากการควบรวมสำเร็จ บริษัทใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของฮอนด้า นิสสัน และมิตซูบิชิ จะมียอดขายรถยนต์รวมกันกว่า 8 ล้านคันต่อปี ซึ่งจะทำให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก แต่ยังคงเป็นรองโตโยต้าที่มียอดขาย 11.2 ล้านคัน และโฟล์กสวาเกนที่ 9.2 ล้านคัน ในปี 2023

อย่างไรก็ตาม ทั้งฮอนด้าและนิสสันยังไม่ได้ยืนยันหรือปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยฮอนด้าแถลงว่า "เนื้อหาที่รายงานไม่ใช่ข้อมูลจากบริษัท" และเสริมว่า "ฮอนด้าและนิสสันกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน โดยใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่าย และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป"

ข่าวการควบรวมนี้เกิดขึ้นหลังจากทั้งสองค่ายได้ทำข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาชิ้นส่วนรถยนต์และซอฟต์แวร์ร่วมกันก่อนหน้านี้ ซึ่งหากการควบรวมเกิดขึ้นจริง จะถือเป็นดีลควบรวมกิจการครั้งใหญ่ที่สุดในวงการรถยนต์ นับตั้งแต่การรวมตัวของ Fiat Chrysler และ PSA Groupe จนเกิดเป็น Stellantis เมื่อเดือนมกราคม 2021

ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการควบรวมและซื้อกิจการเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้บริษัทรถยนต์สามารถแบ่งปันต้นทุน และแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์จากจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึง Tesla ผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐฯ ได้

หลังมีข่าวควบรวม หุ้นของฮอนด้าในตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น 1% ขณะที่หุ้นของนิสสันในตลาด OTC ก็ปรับตัวขึ้นถึง 11% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนต่อดีลดังกล่าว

ล่าสุดรายงานจาก Financial Times บอกว่า ฮอนด้าพร้อมกลับมาเจรจาควบรวมกิจการกับนิสสัน อีกครั้ง แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ Makoto Uchida ซีอีโอของนิสสันต้องลาออกก่อน หลังจากที่การเจรจาครั้งก่อนล้มเหลว เพราะฮอนด้าต้องการให้นิสสันเป็นบริษัทลูก ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ฝั่งนิสสันไม่ยอมรับ

นิสสันกำลังเผชิญปัญหารายได้ลดลงจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดจีน และความล่าช้าในการพัฒนารถยนต์ไฮบริดสำหรับตลาดสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์ทางธุรกิจย่ำแย่ขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน บอร์ดบริหารและพันธมิตรใหญ่อย่าง Renault ก็เริ่มไม่มั่นใจในตัว Uchida มากขึ้น หลังจากดีลควบรวมกับฮอนด้าล่มลง

.ฮอนด้ามองว่านิสสันต้องมีผู้นำที่สามารถบริหารองค์กรได้ดีกว่านี้ เพื่อฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาแข็งแกร่ง ขณะที่ Uchida ยืนยันว่าเขาต้องการอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 2026 แต่จากแรงกดดันภายในบริษัทและจากพันธมิตร อาจทำให้เขาต้องตัดสินใจลงจากตำแหน่งเร็วขึ้น

.นอกจากนี้ นิสสันยังมีแผน ปรับลดพนักงาน 9,000 คน และลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญในช่วงเวลานี้ หาก Uchida ต้องออกจากตำแหน่งจริง การเจรจาระหว่างฮอนด้ากับนิสสันอาจกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...