JMART เปิดทาง TIS ยักษ์ใหญ่ไอทีญี่ปุ่น ถือหุ้น เจ เวนเจอร์ส 16.67% เพิ่มโอกาสได้เทคโนโลยีระดับโลก

บริษัท เจ มาร์ท จำกัด  (มหาชน) หรือ JMART  เปิดทางให้ TIS Inc  ซึ่งเป็นบริษัทไอทีแห่งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าถือหุ้น เจ เวนเจอร์ส สัดส่วน 16.67% หลังมองว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก

บริษัท เจ มาร์ท จำกัด  (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2564ประชุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (“บริษัทย่อย”) โดยบริษัทและผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นในบริษัทย่อยตกลงจะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพื่อให้นักลงทุนคือ TIS Inc (“TIS”) เข้าถือหุ้นบริษัทย่อยในสัดส่วนร้อยละ 16.67 และการเข้าลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้น (Share Subscription Agreement: SSA) และสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น(Shareholder Agreement: SHA และมีมติมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีอำนาจในการกำหนดหรือแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับข้องกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว 

รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง (ก) การกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการ กำหนดระยะเวลาและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน (ข) การเจรจา ทำความตกลง และลงนามในเอกสารคำขอที่เกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นใด ที่จำเป็นและสมควรเกี่ยวกับการเพิ่มทุนและการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร

ในการดำเนินการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังกล่าว บริษัทย่อยจะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน100,000,000 บาท เป็น 120,000,000 บาท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 2,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท ในราคาหุ้นละ 92 บาท มูลค่ารวม 184 ล้านบาท เพื่อออกและเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น และบริษัทและผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นของ

บริษัทย่อยจะสละสิทธิการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว เพื่อให้ TIS สามารถเข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวน 2,000,000 หุ้น ซึ่งเท่ากับร้อยละ 16.67% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งนี้ ภายหลังจากการเพิ่มทุน บริษัทจะมีสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 66.6 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อย ซึ่งมีสิทธิออกเสียงเท่ากับร้อยละ 66.6 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทย่อย

ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยให้นักลงทุนใหม่เข้าถือหุ้นในบริษัทย่อยดังกล่าว

1. บริษัทย่อยจะมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีจากผู้ถือหุ้นที่มีความเชียวชาญทางด้าน IT ระดับโลก

2. บริษัทย่อยมีกระแสดเงินสดเพิ่มจากเงินเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นใหม่

คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท และผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากพันธมิตรในการเข้าร่วมลงทุนมีความเชี่ยวชาญในด้านการดำเนินงานทางไอทีระดับโลก


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...