เทคโนโลยี AI ยุคใหม่ ล็อคหน้าศิลปิน K-pop ผลิต Fancam นับสิบด้วยกล้อง 8K ตัวเดียว

หมดยุคถ่าย Fancam ด้วยกล้องหลายตัวแล้ว! เทคโนโลยีใหม่ของ KBS จับหน้าศิลปินพร้อมกันนับสิบด้วย AI จากกล้อง 8K เพียงตัวเดียว

รูปจาก: KBS, public media alliance

VVERTIGO คือเทคโนโลยีตรวจจับบุคคลด้วย AI ยุคสมัยใหม่ของ Fancam เอกสิทธ์เฉพาะจาก KBS ที่ช่วยให้การผลิต Fancam เป็นเรื่องง่าย รวดเร็วและมีความละเอียดสูง

กำเนิด Fancam: ความนิยมที่รายการเพลงต้องไล่ตามให้ทัน

หนึ่งในตลาดที่ได้รับความนิยมสูงในวงการ K-pop ก็คือ Fancam คำนี้เกิดมาจากคำว่า fan ที่หมายถึงแฟนคลับ รวมกับ camera มีความหมายรวมว่าวิดีโอของศิลปินที่แฟนคลับเป็นคนถ่ายเอง ซึ่งมักจะถ่ายเป็นวงที่ชื่นชอบหรือศิลปินที่ชื่นชอบเพียงคนเดียว เนื่องจากในยุคก่อนการรับชมการแสดงของศิลปินต้องชมผ่านทีวีเท่านั้น และแน่นอนว่าไม่ได้ตอบโจทย์แฟนคลับที่ต้องการโฟกัสแค่ศิลปินคนโปรดที่ตัวเองชื่นชอบ

พอถึงยุคที่มีอินเทอร์เน็ตค่อย ๆ ได้รับความนิยม Fancam จึงเข้ามามีบทบาทกับวงการ K-Pop มากขึ้น สามารถเปลี่ยนชีวิตวงที่กำลังจะเจ๊ง ให้เป็นไวรัลได้ภายในข้ามคืนได้ และมียอดรับชมสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคลิปมียอดเข้าชมมากกว่า 20 ล้านครั้ง 

ในขณะที่การชมผ่านทีวีค่อย ๆ ลดความนิยมลง เนื่องจากแฟนคลับไม่สามารถดูการแสดงของศิลปินที่ชื่นชอบที่สุดได้ผ่านการรับชมผ่านทีวิีแบบเดิม ๆ  ดังนั้นช่องฟรีทีวีใหญ่ ๆ จึงไม่สามารถครองเรตติ้งสูงได้ตามเดิม สู่เรตติ้งเฉลี่ยเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งนี่เป็นแรงกระตุ้นให้สามช่องฟรีทีวียักษ์ใหญ่อย่าง KBS SBS MBC ที่มีรายการเพลงของตัวเองจึงเข้ามาสนใจตลาดนี้นั่นเอง

KBS ช่องฟรีทีวียักษ์ใหญ่กับการพัฒนา AI ลดต้นทุนการผลิต

การจะผลิต Fancam ในรายการเพลงส่วนใหญ่จะเซตกล้องแบบ Multi-Camera หรือการใช้กล้องหลายตัวในการโฟกัสแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกแต่อาจจะเพิ่มต้นทุนการใช้กล้องจำนวนมาก ในฐานะที่ KBS เป็นช่องฟรีทีวีที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสาธารณะ จึงได้มีการพัฒนาแนวทางที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ด้วย VVERTIGO โซลูชันที่ผสมผสานเทคโนโลยีการตรวจจับบุคคลด้วย AI เข้ากับกล้องวิดีโอ 8K เพื่อผลิต Fancam ได้ด้วยกล้องเพียงตัวเดียว 


VVERTIGO ถูกพัฒนาครั้งแรกในปี 2018 และใช้ครั้งแรกในรายการเพลงชื่อ Music Bank ของทาง KBS ในปี 2019 โซลูชันนี้สามารถสร้าง Fancam ที่ปกติจะต้องได้จากกล้องหลายตัวได้อย่างเป็นธรรมชาติราวกับว่ามีตากล้องคอยแพลนกล้องตามศิลปินจริง ๆ

การใช้ AI เข้ามาช่วยทำให้ KBS สามารถผลิต Fancam  แยกโฟกัสศิลปินได้พร้อมกันหลายคนได้อย่างรวดเร็วและมีความคมชัดสูง แม้จะใช้กล้อง 8K เพียงหนึ่งตัวในการถ่าย 

อียุนแจ รองผู้อำนวยการ KBS กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้ช่วยลดจำนวนกล้องในการผลิต Fancam ลงได้ถึง 70% 

จาก AI ผลิต Fancam สู่การปรับใช้ในหลากหลายรายการบันเทิง

เทคโนโลยีนี้ได้รับการยกย่องในด้านประสิทธิภาพ ทั้งประหยัดต้นทุนการผลิต ลดเวลาในการเตรียมงาน การตัดต่อ และลดภาระงานที่ต้องทำซํ้า ๆ เพิ่มโอกาสให้ทีมงานได้ใช้เวลาสร้างสรรค์งานในส่วนอื่น ๆ 

จากความสำเร็จของ VVERTIGO ในรายการเพลง จึงพัฒนาประสิทธิภาพเพิ่มเติม โดยนำไปใช้ในหลากหลายรายการของทาง KBS ได้แก่ คอนเสิร์ตส่งท้ายปี รายการทอล์คโชว์ รายการกีฬา และกิจกรรมอื่น ๆ 


และภายในปี 2023 VVERTIGO ได้เตรียมเสนอโซลูชันใหม่ที่มีชื่อว่า VVERTIGO Live หรือ โซลูชันติดตามศิลปินด้วย AI แบบเรียลไทม์ ที่จะให้ผู้ชมได้เลือกเปลี่ยนกล้องไปชมศิลปินที่ชื่นชอบได้อย่างอิสระขณะรับชมแบบสด ๆ อีกด้วย

ปัจจุบัน VVERTIGO ได้รับการยอมรับในวงการ K-pop ในการใช้ AI ในการผลิต Fancam ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งอาจจะสร้างแรงบันดาลใจสำหรับบริษัทและสถานีทีวีอื่น ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตและสร้างสรรค์เนื้อหาในอนาคต เพราะการนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสูงที่สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล่าสุดแก่ผู้ชมถือเป็นภารกิจสำคัญของทีวีสาธารณะ อียุนแจกล่าว

อ้างอิง: publicmediaalliance, vvertigo


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...