กรุงศรี จับมือ TMB โชว์ความพร้อมเปิดบัญชี ใช้การยืนยันตัวตนผ่าน NDID Platform

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา) และ ทีเอ็มบี ร่วม Live Demo จำลองกระบวนการเปิดบัญชีออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านกรุงศรีโมบายแอปพลิเคชัน (KMA) โดยใช้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Digital ID – NDID) เพื่อขอยืนยันตัวตนลูกค้าข้ามธนาคาร (cross verification) ซึ่งครั้งนี้ลูกค้าให้การยินยอมในการดึงข้อมูลส่วนตัวจากทีเอ็มบีมาใช้ เพื่อเปิดบัญชี กรุงศรี โดยทุกขั้นตอนผ่านไปด้วยดีและได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน สะท้อนถึงความพร้อมและการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งในด้านดิจิทัลและนวัตกรรมของธนาคาร โดยมี นายฐากร ปิยะพันธ์ (ที่ 3 จากขวา) ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี (ที่ 3 จากซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ME by TMB ร่วมให้ข้อมูลและ Live Demo ที่บูทกรุงศรีในงาน Bangkok FinTech Fair 2019

ทั้งนี้ บัญชีออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดเป็นบัญชีทดสอบ โดยระบบ NDID คาดว่าจะเริ่มการทดสอบการให้บริการจริงในวงจำกัด ภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงต้นไตรมาส 4 ปี 2562 ซึ่งกรุงศรี และทีเอ็มบี มีความพร้อมที่จะร่วมกันทดสอบ โดยหากระบบ NDID ได้รับการอนุญาตให้ใช้งานจริงจะช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุน ในการแสดงตนเพื่อเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ช่วยให้เกิดการบริการที่สะดวก รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้นด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักโครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ 'อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ'

สรุปจากงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program ที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ World Bank มาเผยแนวทางสนับสนุนให้ลดการปล่อยคาร์บอนในภา...

Responsive image

อว. ก้าวล้ำ! เปิดตัว AI ตรวจสอบหลักสูตรมหาวิทยาลัย ยกระดับมาตรฐาน รวดเร็ว แม่นยำ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังก้าวสู่มิติใหม่ของการประกันคุณภาพการศึกษา ประกาศนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูต...

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...