ฟังวาทะ 'มาครง' กับทิศทางวิกฤติโลก บนเวที APEC CEO Summit 2022

เข้าสู่วันสุดท้ายของการประชุม APEC CEO Summit 2022 หนึ่งในไฮไลท์ผู้นำที่ได้ร่วมงานวันนี้คือเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่มากล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Navigating a Turbulent world โดยมาครงได้พูดหลายประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิกฤติโลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พร้อมทั้งยังกล่าวเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ กลับมาเคารพกฎระเบียบระหว่างประเทศ และสนับสนุนกลไกพหุภาคีเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก

คุณมาครงกล่าวว่า การมาเยือนครั้งนี้ได้รับการเชิญโดยนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ซึ่งเขาเป็นผู้นำจากฝรั่งเศสคนแรกในรอบ 16 ปี ที่มาเยือนประเทศไทย หลังจากประธานาธิปดีฌัก ชีรักเมื่อปี 2006

โดยมาครงเปรียบ APEC เหมือนกับ EU ที่มีความเคารพในกฏสากลร่วมกัน แต่ในขณะเดียวกัน โลกก็อยู่ในช่วงแห่งความท้าทาย และเผชิญกับจุดเปลี่ยน

จุดเปลี่ยนอันเนื่องจากวิกฤต 3 ประการ

  1. สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งปะทุขึ้นต่อเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19  ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางอาหารและพลังงาน นับเป็นการรุกรานที่ละเมิดกฎระเบียบระหว่างประเทศ 
  2. การเผชิญหน้ากันของประเทศมหาอำนาจที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อระเบียบโลก การค้า และการลงทุน
  3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับโลกและผู้นำธุรกิจ ที่จะร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลง  

คุณมาครงเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม เพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมและความไร้เสถียรภาพ

โดยเขาเห็นว่า เพื่อป้องกันความขัดแย้งใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างเสถียรภาพ และความสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค และเสนอว่าความสมดุลอย่างมีพลวัต (dynamic balance) คือหนทางที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์บังคับให้ต้องเลือกข้างระหว่างมหาอำนาจแต่ละฝ่าย

เขากล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤตในภูมิภาคแต่เป็นวิกฤตระดับโลก แต่เป็นการรุกรานที่ละเมิดกฎระเบียบระหว่างประเทศ นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน ผลักให้หลายประเทศตกอยู่ในภาวะที่ต้องเลือกว่าจะอยู่ข้างในขณะที่เราต้องการระเบียบโลกที่เป็นหนึ่งเดียว 

ทั้งนี้เขายังเรียกร้องให้หยุดการทำสงคราม และเคารพระเบียบสากล และกลับมาเข้าสู่โต๊ะเจรจา และทำงานร่วมกันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งสันติภาพและเสถียรภาพ  พร้อมเผยว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ฝรั่งเศสจะสนับสนุนสันติภาพให้เกิดขึ้นในยูเครน ซึ่งจะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสทำงานร่วมกับหลายประเทศ

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของเราคือการสร้างความสมดุลอย่างมีพลวัต เราแข่งขันกันและต่างปรารถนาที่จะชนะ แต่เราจะต้องเคารพอธิปไตยของกันและกัน

ทั้งนี้เขายังเสนอว่า ควรต้องมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยม ที่จะทำให้ครอบคลุมและยั่งยืน

“ความท้าทายของเราก็คือ สร้างการเติบโต ขยายการลงทุน และการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผมมั่นใจว่า ความร่วมมือกันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ทุกฝ่ายชนะ” – เอมานูว์แอล มาครง กล่าวสรุป


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ ส่งออกไทยอาจเสียหาย 4 แสนล้านบาท จากภาษีตอบโต้ 37%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ประเมินถึงสถานการณ์ที่สหรัฐญ ขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับไทยในอัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 25% ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศร...

Responsive image

ไทย–อินเดีย จับมือสู่การเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์”

ไทย-อินเดียยกระดับสัมพันธ์สู่ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ประกาศความร่วมมือ 6 ฉบับ ครอบคลุมเศรษฐกิจ ดิจิทัล วัฒนธรรม รับมือแรงสั่นสะเทือนจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ และเสริมบทบาทภูมิรัฐศาสตร์ใ...

Responsive image

[ข่าวลือ] Microsoft ชะลอการลงทุน Data Center ในหลายประเทศทั่วโลก

Microsoft ถูกเปิดเผยว่าชะลอหรือหยุดการลงทุนใน Data Center หลายประเทศ ทั้งลอนดอน ชิคาโก อินโดนีเซีย และวิสคอนซิน สะท้อนการทบทวนยุทธศาสตร์ AI และคลาวด์ ข้อมูลจาก Bloomberg...